ผลของการฟังเพลงต่อการหลั่งนํ้านมในช่วงทันทีหลังคลอด ในมารดาที่คลอดครบกำหนด: การศึกษาเปรียบเทียบแบบสุ่ม
เยาวเรศ กิตติธเนศวร, สุภาวดี เจียรกุล, จรณิต แก้วกังวาล, ยง ภู่วรวรรณ*
Center of Excellence in Clinical Virology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand; Phone: +66-2-2564909, Fax: +66-2-2564929; E-mail: Yong.P@chula.ac.th
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: เป็นที่ทราบกันดีถึงประโยชน์และความสำคัญของการให้นมมารดาในทารกทั่วโลกว่า การสัมผัสระหว่างมารดาและทารกในช่วงชั่วโมงแรกหลังคลอดจะมีผลดีต่อความสำเร็จในการให้นมมารดา ความกังวลและความเครียดของมารดาจะยับยั้งการสร้างนํ้านม ส่วนความสุขและความผ่อนคลายจะเป็นผลดีต่อการสร้างนํ้านม
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงผลของการฟังเพลงทันทีหลังคลอดต่อการหลั่งนํ้านมของมารดา
วัสดุและวิธีการ: การศึกษาแบบสุ่มโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 152 คน โดยกลุ่มแรกให้ฟังเพลง และไม่ได้ฟังเพลง โดยที่ทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการดูแลหลังคลอดตามมาตรฐานหลังคลอดเหมือนกันตามปกติ
ผลการศึกษา: จากการศึกษา ปริมาณน้ำนมในชว่ งกอ่ นและหลังการดูดนม เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติระหว่าง lactation time อายุมารดา และประวัติการคลอดระหว่า ง 2 กลุ่ม พบว่ากลุ่มที่ได้ฟังเพลง มีการหลั่งน้ำนมหลังการดูดมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าทางสถิติ odd ratio 2.36 (95% CI 1.54-3.63)
สรุป: มารดาที่ให้นมบุตรในกลุ่มฟังเพลงหลังคลอด มีการหลั่งนํ้านมหลังทารกดูดนมมารดามากกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฟังเพลง
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2560, August ปีที่: 100 ฉบับที่ 8 หน้า 834-842
คำสำคัญ
Music, Breastfeeding, Lactation, Human milk