เปรียบเทียบประสิทธิผลการทำกายภาพบำบัดกับการทำกายภาพบำบัด ร่วมกับการนวดไทยต่อความสามารถในการฟื้นฟูร่างกายและคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ
จิรายุ ชาติสุวรรณ*, พรระวีึ เพียรผดุงรัชต์, อรุณพร อิฐรัตน์, ณภัทร พานิชการ
แพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทคัดย่อ
 บทนำ: การนวดไทยเป็นภูมิปัญญาของคนไทยในการบำบัดรักษาโรค ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพและสร้างเสริมสุขภาพ ของผู้ป่วยที่สืบทอดกันมายาวนาน ส่งผลโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ แต่ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผล ของการนวดไทยเพื่อฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองกับวิธีมาตรฐานคือการทำกายภาพบำบัด ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการทำกายภาพบำบัด กับการทำกายภาพบำบัดร่วมกับการนวดไทย ในการฟื้นฟูความสามารถร่างกายและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอัมพาต ครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ
วิธีกรศึกษา: เป็นการวิจัยทางคลินิกกึ่งทดลอง มีอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน ๖๘ คน แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่ม กายภาพ (PT) จำนวน ๓๔ คน จะได้รับการฟื้นฟูสภาพด้วยการกายภาพบำบัด โดยนักกายภาพบำบัดและกลุ่ม กายภาพร่วมกับการนวดไทย (PTTM) จำนวน ๓๔ คน ซึ่งจะได้รับการฟื้นฟูสภาพด้วยการนวดไทยและการ กายภาพบำบัด ทั้งหมด ๑๑ ครั้ง อาสาสมัครทั้งหมด จะได้รับการติดตามอาการในวันเริ่มการทดลอง วันที่ ๑๕ และวันที่ ๓๐ ประเมินประสิทธิผลรักษาจากแบบประเมินทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน (Modified Barthel Index; MBI), แบบประเมิน Fugl-Meyer Assessment of Physical Performance และแบบประเมินคุณภาพ ชีวิต SF-36 ฉบับภาษาไทย ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๘ และวิเคราะห์ผลเปรียบเทียบผลการวัดซ้ำระหว่างกลุ่ม อาสาสมัครโดยใช้สถิติ Repeated measures ANOVA
ผลกรศึกษา: จากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับการกายภาพบำบัดร่วมกับการนวดไทย มีทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน ขั้นพื้นฐาน (PT = ๖๕.๒๙ ± ๑๖.๑๐, PTTM = ๗๔.๖๒ ± ๑๘.๒๗), การทำงานของกล้ามเนื้อส่วนบน (upper motor extremity) (PT = ๒๘.๗๑ ± ๘.๖๐, PTTM = ๔๐.๓๒ ± ๙.๙๑), การรับความรู้สึกของรยางค์ส่วนบน และรยางค์ส่วนล่าง (upper and lower extremity sensation) (PT = ๑๙.๑๒ ± ๓.๘๖, PTTM = ๒๑.๐๐ ± ๒.๒๐), พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ (range of motion) (PT = ๒๗.๐๐ ± ๗.๓๒, PTTM = ๓๐.๔๔ ± ๓.๘๘) และความปวดตามข้อต่างๆ (joint pain) (PT = ๓๓.๒๖ ± ๕.๕๔, PTTM = ๓๘.๗๑ ± ๕.๑๘) ดีกว่าอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p < ๐.๐๕) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการกายภาพบำบัดเพียงอย่างเดียว แต่การทำงาน ของกล้ามเนื้อส่วนล่าง (lower motor extremity) (PT = ๒๑.๔๗ ± ๔.๙๐, PTTM = ๒๐.๗๖ ± ๕.๐๗) และ การทรงตัว (balance) (PT = ๘.๔๕ ± ๒.๔๕, PTTM = ๗.๕๓ ± ๒.๕๑) ทั้งสองกลุ่มการทดลองไม่แตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < ๐.๐๕) ส่วนคะแนนประเมินคุณภาพชีวิต (SF-36) (PT = ๑๐๗.๓๒ ± ๙.๓๒, PTTM = ๑๑๒.๑๕ ± ๕.๘๙) แสดงให้เห็นว่ากลุ่มกายภาพบำบัดร่วมกับการนวดไทยช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย  เพิ่มมากขึ้นกว่ากลุ่มที่ได้รับการกายภาพบำบัดอย่างเดียวในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ
วิจรณ์ และ สรุปผลกรศึกษา: จากการวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่าการกายภาพบำบัดร่วมกับการนวดไทย มีประสิทธิผลในการฟื้นฟูร่างกายโดยเฉพาะการฟื้นฟูกล้ามเนื้อส่วนบน การรับความรู้สึก พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อลดการปวดตามข้อและเพิ่มคุณภาพชีวิตดีกว่าการทำกายภาพบำบัดเพียงอย่างเดียวในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ เมื่อได้รับ การนวดไทยอย่างต่อเนื่อง ๓๐ วัน 
 
ที่มา
ธรรมศาสตร์เวชสาร ปี 2560, July-September ปีที่: 17 ฉบับที่ 3 หน้า 356-364
คำสำคัญ
Rehabilitation, Thai massage, นวดไทย, การฟื้นฟู, Physiotherapy combined with Thai massage, Ischemic stroke, กายภาพบำบัดร่วมกับการนวดไทย, โรคหลอดเลือดสมองตีบ