การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาชาชนิดพ่นเอทธิลคลอไรด์และยาชาชนิดฉีดลิโดเคน 1% ในการระงับความปวดที่เกิดจากกระบวนการฝังยาคุมกำเนิดชนิดหนึ่งหลอด
มณฑินี เตชะสมบูรณ์*, ีีรุจิรา วัฒนายิ่งเจริญชัย, จิตติมา มโนมัย บาร์ทเล็ทท์, คมกฤช เอี่ยมจิรกุล
Department of Obstetrics and Gynaecology, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok 10400, Thailand, E-mail: monthineetecha@gmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างยาชาชนิดพ่นเอทธิลคลอไรด์ และยาชาชนิดฉีด 1% ลิโดเคนใต้ผิวหนังในการลดความปวดที่เกิดจากกระบวนการฝังยาคุมกำเนิดชนิดหนึ่งหลอด
วัสดุและวิธีการ: สตรีที่รับการบริการยาฝังคุมกำเนิดชนิดหนึ่งหลอดจำนวน 84 ราย ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ถึงเดือน ธันวาคม 2558 ถูกสุ่มแยกเป็นกลุ่มที่ได้รับยาชาชนิดพ่นเอทธิลคลอไรด์ และกลุ่มได้รับยาชา 1% ลิโดเคนฉีดใต้ผิวหนัง โดยหลังจากทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะฝังยาคุมกำเนิดด้วยยาฆ่าเชื้อ ทุกรายจะได้รับการระงับความปวดด้วยวิธีที่สุ่มไว้แล้ว ก่อนทำการฝังยาคุมชนิดหนึ่งหลอดตามวิธีมาตรฐาน ประเมินระดับความปวดขณะให้การระงับความปวด, ขณะฝังยาคุม, หลังจากฝังยาคุม 20 นาทีและความปวดโดยรวม โดยใช้ visual analogue scale (VAS) และวัดระดับความพึงพอใจของผู้ให้ และผู้รับบริการโดยใช้มาตรวัดของลิเคิร์ท 5 ระดับ
ผลการทดลอง: ลักษณะพื้นฐานทางคลินิกของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความปวดประเมินโดย VAS ขณะฝังยาคุมและหลังจากฝังยาคุม 20 นาที ในการระงับความปวดทั้ง 2 วิธี (p > 0.05) ค่ามัธยฐานความปวดประเมินโดย VAS ขณะให้การระงับความปวดและความปวดโดยรวมในกลุ่มยาชาชนิดพ่นเอทธิลคลอไรด์ (1.50 และ 1.60) ต่ำกว่ากลุ่มฉีดยาชา 1% ลิโดเคนใต้ผิวหนัง (3.75 และ 2.75) อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.01) คะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยและแพทย์ในกลุ่มยาชาชนิดพ่นสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05)
สรุป: ยาชาชนิดพ่นเอทธิลคลอไรด์สามารถใช้เป็นทางเลือกหนึ่ง ในการลดความปวดจากการฝังยาคุมกำเนิดชนิดหนึ่งหลอดได้ โดยสามารถลดความปวดที่เกิดขณะฝังยาคมุ ได้ไม่แตกต่างจากยาชาลิโดเคนชนิดฉีด แต่มีความปวดขณะให้การระงับปวดต่ำกว่า
 
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2560, December ปีที่: 25 ฉบับที่ 4 หน้า 266-274
คำสำคัญ
Lidocaine, ethyl chloride spray, one rod system implant