ผลของดนตรีต่อคุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด
สุพัตรา ใจรังกา*, พรรณวดี พุธวัฒนะ, Suporn Wongvatunyu
คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
บทคัดย่อ
          การวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลองชนิดสองกลุ่ม สุ่มแบ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของดนตรีต่อคุณภาพการนอนหลับ ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับ ยาเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก ที่คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เลือกผู้ที่มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี จำนวน 50 ราย จัดคู่ 4 คุณลักษณะเป็นกลุ่มควบคุม กับกลุ่มทดลอง ดนตรีที่นำมาใช้ 5 ชุด ให้กลุ่มทดลองเลือกนำดนตรีไปฟังที่บ้าน 2 ชุดตามที่ พอใจ ก่อนนอนทุกคืนอย่างน้อย 14 คืน ระหว่าง 1 รอบของการรับยาเคมี เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบคัดกรองหมวดหมู่ แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ ของพิทสเบอร์ก (ฉบับภาษาไทย) และแบบบันทึกการฟังดนตรีขณะอยู่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา, Paired t-test, Wilcoxon Signed-rank Test, Independent t-test และ Mann-Witney U Test
ผลการศึกษาพบว่าก่อนฟังดนตรีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพ การนอนหลับและรายองค์ประกอบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยรวม (p>.05) คุณภาพการนอนหลับโดยรวมของกลุ่มทดลองหลังการฟังดนตรี ดีกว่าก่อนฟังดนตรีอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p<.001) ภายหลังการทดลองพบว่า คุณภาพการนอนหลับของกลุ่มทดลองดี กว่ากลุ่มควบคุม มีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยรวม (p<.001)
 
ที่มา
วารสารเกื้อการุณย์ ปี 2561, January-June ปีที่: 25 ฉบับที่ 1 หน้า 123-140
คำสำคัญ
chemotherapy, Music, Breast cancer, เคมีบำบัด, ดนตรี, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, sleep quality, คุณภาพการนอนหลับ