ประเมินคุณภาพชีวิตระหว่างผู้ป่วยฟอกเลือดล้างไตและล้างไตทางช่องท้อง ณ โรงพยาบาลพะเยา
นลิตา เหลาแหลม, พรมมินทร์ ไกรยสินธ์, วัชรียา ปาละกุล, อภิรดา ฉิมพาลี, กัตติกา หาลือ, วีระพล จันทร์ดียิ่ง*
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000
บทคัดย่อ
ศึกษาแบบมุ่งหน้าภาคตัดขวางเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตระหว่างกลุ่มผู้ป่วยฟอกเลือดล้างไต กับกลุ่มผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง รวบรวมข้อมูลจากบันทึกทางการแพทย์ โรงพยาบาลพะเยา และสุ่มเพื่อสัมภาษณ์ จำนวน 62 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยฟอกเลือดล้างไต 32 ราย และผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง 30 ราย ใช้แบบฟอร์มสั้น คุณภาพชีวิตโรคไต (Kidney Disease Quality of Life Short Form - KDQOL SFTM version 1.3) ฉบับภาษาไทย อันประกอบด้วยมาตราส่วนสำรวจสุขภาพทั่วไป 36 รายการ (36-Item Health survey scale) 8 หัวข้อ และมาตราส่วนมุ่งเป้าโรคไต (Kidney diseasetarget scale) 12 หัวข้อ คะแนนรวมทั้ง หมดคุณภาพชีวิตโรคไตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนมาตราส่วนสำรวจสุขภาพทั่วไป 36 รายการ ในส่วนหัวข้อสุขภาพทั่วไป กลุ่มผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง มีคะแนนสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p =0.029) เช่นเดียวกับมาตราส่วนมุ่งเป้าโรคไต ในส่วนหัวข้อการให้กำลังใจจากผู้ให้บริการล้างไต กลุ่มผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องมีคะแนนสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001) คุณภาพชีวิตระหว่างทั้งสองกลุ่มล้างไตวิธีมาตรฐาน ไม่มีความแตกต่างทางคลินิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
 
ที่มา
Naresuan Phayao Journal ปี 2561, May-August ปีที่: 7 ฉบับที่ 2 หน้า 172-177
คำสำคัญ
Hemodialysis, Quality of life, คุณภาพชีวิต, ล้างไตทางช่องท้อง, Peritoneal dialysis, คุณภาพชี่วิต, KDQOL SF, ฟอกเลือดล้างไต, แบบฟอร์มสั้น คุณภาพชีวิตโรคไต