การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการพ่นน้ำเกลือความเข้มข้นสูงและน้ำเกลือความเข้มข้นปกติในการรักษาโรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน
ดวงตะวัน ไทยตรง*, ปวีณา วิจักษณ์ประเสริฐ
กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: โรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลันเป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนล่างที่
พบบ่อยที่สุดในเด็กเล็กที่นำไปสู่การเข้าพักในโรงพยาบาล จากการศึกษาพบว่าการพ่นน้ำเกลือความ
เข้มข้นสูงช่วยลดระยะเวลาการเข้าพักในโรงพยาบาล ลดอาการและความรุนแรงของโรค แต่ใน
ประเทศไทยยังไม่ค่อยมีการศึกษามากนัก
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระยะเวลาการเข้าพักในโรงพยาบาลของผู้ป่วยหลังได้รับการ
รักษาด้วย 3% hypertonic saline (3% HS) เทียบกับ 0.9% normal saline (0.9% NSS)
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยอายุ 1-24 เดือน ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยเด็กเล็ก กลุ่มงานกุมารเวชกรรม
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2557 ถึง 31 สิงหาคม 2558 และได้รับการ
วินิจฉัยเป็นหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลันจะได้รับการพ่นน้ำเกลือทุก 4 ชั่วโมง และได้รับการ
ประเมินคะแนนความรุนแรงของโรค Clinical severity score (CSS) ทุก 12 ชั่วโมง จนผู้ป่วยกลับบ้าน
ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยทั้งหมด 49 ราย ไม่เข้าเกณฑ์คัดเลือกเข้าศึกษา 15 ราย ถูกคัดออกจากการ
ศึกษา 11 ราย ปฏิเสธเข้าร่วมการศึกษา 3 ราย เหลือผู้ป่วยในการศึกษา 20 ราย เป็นเพศชาย 17 ราย
อายุเฉลี่ย 11.2 เดือน แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คนโดยการสุ่ม พบว่าค่ามัธยฐานของระยะเวลา
การเข้าพักในโรงพยาบาลของกลุ่ม 3% HS เท่ากับ 39 ชั่วโมง และกลุ่ม 0.9% NSS เท่ากับ 59 ชั่วโมง
ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > 0.05) แต่กลุ่ม 3% HS มีอัตราการออก
จากโรงพยาบาลสูงกว่ากลุ่ม 0.9% NSS ถึง 1.86 เท่า CSS ของกลุ่ม 3% HS เมื่อแรกเข้าการศึกษา และที่ 12, 24, 36 ชั่วโมงเท่ากับ 6.4, 4.4, 4.0 และ 4.5 ตามลำดับ ส่วนกลุ่ม 0.9% NSS มีค่า CSS เมื่อแรกเข้าศึกษา และที่ 12, 24, 36 ชั่วโมงเท่ากับ 6.3, 4.9, 4.0 และ 5.2 ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่าง 2 กลุ่มสำหรับผลข้างเคียงจากการรักษาด้วย 3% HS ไม่พบว่ามีผลข้างเคียงที่รุนแรง มีเพียง 2 ราย เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
สรุป : 3% HS สามารถลดระยะเวลาการเข้าพักในโรงพยาบาล และลด CSS ในผู้ป่วยโรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลันได้ดีกว่า 0.9% NSS แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่
พบผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการรักษา
 
ที่มา
วารสารกุมารเวชศาสตร์ ปี 2559, July-September ปีที่: 55 ฉบับที่ 3 หน้า 179-186
คำสำคัญ
Acute bronchiolitis, 3% hypertonic saline, น้ำเกลือความเข้มข้นสูง, โรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน