ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของหญ้าดอกขาวชนิดเม็ดอมในการเลิกบุหรี่ในผู้ที่ติดนิโคตินระดับต่าและปานกลาง
สุธาสินี ศรีสร้อย, สุณี เลิศสินอุดม*, จริงใจ อารีมิตร, Nadthatida Hansuri, อัจฉรา นาสถิตย์, นิรัชรา ถวิลกาล, สินีนาถ พรานบุญ, บังอร ศรีพานิชกุลชัย
ภาควิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002 โทรศัพท์ +66-1-6617237 E-mail: Lsunee@kku.ac.th
บทคัดย่อ
หญ้าดอกขาวเป็นสมุนไพรไทยที่มีประสิทธิภาพในการเลิกบุหรี่มากกว่ายาหลอก แต่ไม่มีนัยสาคัญทางสถิติ ซึ่งที่ผ่านมาศึกษาในรูปแบบชาชง แคปซูล และยาอมเม็ดแข็ง รับประทาน 2-4 สัปดาห์ การศึกษาครั้งนี้ได้พัฒนารูปแบบเป็นชนิดเม็ดอม (pastilles) และรับประทาน 12 สัปดาห์ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของหญ้าดอกขาวชนิดเม็ดอมกับยาหลอก วัดผลจากอัตราการเลิกบุหรี่อย่างต่อเนื่อง (Continuous Abstinence Rate: CAR) อัตราการเลิกบุหรี่ตลอด 7 วันก่อนการประเมินผล (Prevalence Abstinence Rate: PAR) และอาการไม่พึงประสงค์ในสัปดาห์ที่ 12 วิธีดำเนินการวิจัย: แบ่งกลุ่มแบบสุ่มปิดบังสองทาง ใช้วิธี block randomization ในผู้ที่มีอายุ 18-60 ปี มีความตั้งใจเลิกบุหรี่ระดับ preparation กลุ่มศึกษาได้รับเม็ดอมหญ้าดอกขาวที่สกัดมาจากผงแห้งเม็ดละ 575.34 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับยาหลอก อาสาสมัครทั้งหมดได้รับคาแนะนาในการเลิกบุหรี่จากเภสัชกร จากนั้นติดตามผล 3 ครั้ง คือ สัปดาห์ที่ 2, 4 และ 12 ที่ร้านยาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผลการศึกษา: มีอาสาสมัครติดนิโคตินระดับต่า 68 คน (กลุ่มศึกษา 33 คน กลุ่มควบคุม 35 คน) ติดนิโคตินระดับปานกลาง 43 คน (กลุ่มศึกษา 21 คน กลุ่มควบคุม 22 คน) เมื่อสิ้นสุดการศึกษาในสัปดาห์ที่ 12 อาสาสมัครที่ติดนิโคตินระดับต่าในกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมมี CAR ร้อยละ 30.30 และ 20.00 (p=0.327) PAR ร้อยละ 42.42 และ 37.14 (p=0.656) ตามลาดับ อาสาสมัครที่ติดนิโคตินระดับปานกลางในกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมมี CAR ร้อยละ 42.86 และ 13.64 (p=0.033) PAR ร้อยละ 52.38% และ 22.73% (p=0.044) ตามลาดับ อาการไม่พึงประสงค์ของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันทั้งในผู้ที่ติดนิโคตินระดับต่าและปานกลาง สรุปผลการวิจัย: หญ้าดอกขาวชนิดเม็ดอมมีอัตราการเลิกบุหรี่อย่างต่อเนื่องและอัตราการเลิกบุหรี่ตลอด 7 วันก่อนการประเมินผลมากกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติในผู้ที่ติดนิโคตินระดับปานกลาง แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติในผู้ที่ติดนิโคตินระดับต่า ดังนั้นหญ้าดอกขาวอาจมีผลต่อภาวะการติดนิโคตินของผู้สูบบุหรี่ และไม่พบรายงานอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง
 
ที่มา
วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน ปี 2561, October-December ปีที่: 14 ฉบับที่ 4 หน้า 68-78
คำสำคัญ
Smoking cessation, Pharmacist, เภสัชกร, ร้านยา, Vernonia cinerea, drugstore, หญ้าดอกขาว, เลิกบุหรี่