การวิเคราะห์ต้นทุนผลลัพธ์ของมาตรการการเร่งรัดการค้นหาวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง ณ โรงพยาบาลลำปาง
กวิน วัฒนากูล, ธัญญชนก เกษตรทัต, นันทวัฒน์ จันทร์ชัย, ปราณิศา บุตรโคษา, วิน เตชะเคหะกิจ*, กมลพร วงศ์วิวัฒน์, ชนิินท์ ประคองยศ
กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลลำปาง 280 ถ.พหลโยธิน ต.หัวเวียง อ.เมือง จ.ลำปาง 52000 โทร 0-5423-7400 ต่อ 4661 Email: drwin123@gmail.com
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: งานวิจัยที่ผ่านมาได้ชี้ให้เห็นถึงความชุกที่สูงของวัณโรคในประชากรไทย รพ.ลำปางได้ดำเนิน
มาตรการคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง เพื่อเร่งรัดการค้นหาผู้ป่วย แต่ยังไม่มีข้อมูลเรื่องต้นทุนและประสิทธิผลของมาตรการนี้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการวิเคราะห์ต้นทุนผลลัพธ์ของมาตรการตรวจคัดกรองวัณโรคที่ รพ.ลำปาง
วัสดุและวิธีกำร: ข้อมูลในเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ช่วงเดือน ต.ค.2560 - เม.ย.2561 ของกลุ่มเสี่ยงวัณโรค
11,021 รายแบ่งเป็น 7 กลุ่ม (ผู้สูงอายุ แรงงานข้ามชาติ ผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ติดสุรา ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยเรื้อรัง
[ปอดอุดกั้นเรื้อรัง,เบาหวาน,ไตวายเรื้อรัง] และกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ) ถูกวิเคราะห์ต้นทุนผลลัพธ์แบบย้อนหลัง คือ
ต้นทุนทางตรงที่เกี่ยวกับการแพทย์ (ค่าบริการผู้ป่วยนอก การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจอื่นๆ)
และที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์ (ค่าเดินทาง อาหารและค่าเสียเวลา) โดยประมาณการจากมุมมองสังคมและ
ผู้ให้บริการที่ปีฐาน พ.ศ. 2560
ผลการศึกษา: ประชากรกลุ่มเสี่ยงเป็นเพศหญงิ ร้อยละ 56.1 เป็นกลุ่มผู้สูงอายุมากที่สุด (ร้อยละ 47.2) รอง
ลงมาคือ ผู้ป่วยเรื้อรัง (ร้อยละ 33.1) พบผู้ป่วยวัณโรค 35 ราย (317 รายต่อแสนประชากร) ต้นทุนทั้งหมด
และอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลจากมุมมองผู้ให้บริการเท่ากับ 912,071 และ 26,059 บาท ขณะที่จาก
มุมมองสังคมเท่ากับ 3,359,746 และ 95,993 บาท ตามลำดับ โดยเป็นต้นทุนทางตรงที่เกี่ยวกับการแพทย์
ร้อยละ 27.2 และต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์ร้อยละ 72.8 ขั้นตอนที่มีต้นทุนสูงสุดคือ การถ่าย
ภาพรังสีทรวงอก กลุ่มที่มีต้นทุนในการตรวจพบผู้ป่วยวัณโรค 1 รายต่ำสุดคือ กลุ่มเสี่ยงอื่นๆ รองลงมา
ได้แก่ ผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง แรงงานข้ามชาติและผู้สูงอายุ ตามลำดับ
สรุป: ต้นทุนส่วนใหญ่ของการเร่งรัดการค้นหาวัณโรคตกอยู่กับผู้เข้ารับการตรวจคัดกรอง การลงทุนตรวจ
คัดกรองในกลุ่มผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้สูงอายุและแรงงานข้ามชาติมีประสิทธิภาพมากกว่าในกลุ่มเสี่ยงที่เหลือแต่มีผู้คัดกรองที่สูญหายไปในอัตราที่สูงมากแทบทุกขั้นตอนของการตรวจ ซึ่งควรมีการวางแผนแก้ไขต่อไป
 
ที่มา
Lampang Medical Journal ปี 2561, July-December ปีที่: 39 ฉบับที่ 2 หน้า 44-54
คำสำคัญ
screening, Tuberculosis, วัณโรค, ตรวจคัดกรอง, Cost-outcome analysis, การวิเคราะห์ต้นทุนผลลัพธ์