คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน และการมีส่วนร่วมในการดูแลของครอบครัว โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
กรรณิการ์ เซียวทวีสิน
แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จ.ภูเก็ต 83000
บทคัดย่อ
ความสาคัญและที่มาของการวิจัย: โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่พบได้บ่อยในทางเวชปฏิบัติ ปัจจุบันการศึกษาข้อมูล ในด้านความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงิน ความเข้าใจเรื่องโรค และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินในประเทศไทยยังมีอยู่อย่างจากัด ปัญหาของผู้ป่วยสะเก็ดเงินยังเกิดจากการที่ผู้ป่วยและครอบครัวขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคสะเก็ดเงิน และการขาดระบบในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาข้อมูลทางคลินิก ความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงิน ความเข้าใจเรื่องโรค คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน รวมทั้งสารวจปัญหาของผู้ป่วยที่พบในการรักษา วิธีการวิจัย: ผู้วิจัยสัมภาษณ์ผู้ป่วยสะเก็ดเงินจานวน ทั้งหมด 128 คน และกรอกข้อมูลลงในแบบสอบถาม ในระยะเวลา 6 เดือน และติดตามความรุนแรงของผื่นสะเก็ดเงินที่ 3 เดือนหลังการให้ความรู้ผู้ป่วยและญาติ ผลการวิจัย: โรคประจาตัวที่พบมากที่สุด คือ โรคระดับไขมัน ในเลือดสูง 86 คน (ร้อยละ 67.2) รองลงมาเป็น Obesity 69 คน(ร้อยละ53.9) ความดันโลหิตสูง 56 คน (ร้อยละ43.8) Metabolic syndrome 54 คน (ร้อยละ 42.2) และ เบาหวาน 26 คน (ร้อยละ 20.3) ผู้ป่วยเพศชายและหญิงมีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย (Body mass index) 25.77 และ 27.63 kg/m2 ตามลาดับ และค่าเฉลี่ยเส้นรอบเอว 93.72 และ 95.71 cm. ตามลาดับ ซึ่งพบว่าสูงกว่าค่ามาตรฐานสาหรับคนไทย อายุที่เริ่มเป็นสะเก็ดเงินอยู่ในช่วง 4 ถึง 76 ปี ระยะเวลาเฉลี่ยที่ป่วยเป็นโรคสะเก็ดเงิน 11.07 ปี ชนิดของสะเก็ดเงินที่พบมากที่สุด คือ chronic plaque ร้อยละ 94.5 บริเวณของร่างกายที่พบว่ามีผื่นมากที่สุดคือ หนังศีรษะ ร้อยละ 98.4 แขน ขา ร้อยละ 88.3และ ลาตัว ร้อยละ 87.5 อาการร่วมอื่นๆ ที่พบมากที่สุด คือ อาการคัน ร้อยละ 84.4 รองลงมา คือ อาการปวดเมื่อยร่างกาย (ร้อยละ 29.7) ปวดแสบผื่น(ร้อยละ 20.3) ไข้ (ร้อยละ13.3) และ เครียด นอนไม่หลับ(ร้อยละ 0.8) อาการปวดข้ออักเสบสะเก็ดเงินพบ ร้อยละ 15.6 พบว่าข้อนิ้วมือเป็นตาแหน่งที่ปวดมากที่สุด เล็บผิดปกติพบมากถึง ร้อยละ 76.6 ซึ่งแบ่งเป็นชนิด onycholysis มากที่สุด ร้อยละ76.5 รองลงมา คือ pitting nail ร้อยละ 63.3 ผู้ป่วยสะเก็ดเงิน ร้อยละ 43.8 รับประทานยา Methotrexate ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ มีข้อบ่งชี้ของการได้รับยา คือ ความรุนแรงของผื่นสะเก็ดเงิน >10%BSA ผู้ป่วยเกือบ 1 ใน 4 มีประวัติใช้ หรือ เคยใช้อาหารเสริม ยาสมุนไพร/ยาต้ม/ยาหม้อมาก่อน ผู้ป่วยร้อยละ 59.4 ไม่ทราบวิธีการปฏิบัติตัว/ไม่ทราบปัจจัยกระตุ้น ที่ทาให้ผื่นสะเก็ดเงินเห่อ ผู้ป่วยร้อยละ 40.6 ขาดความรู้เรื่องการใช้ยาการรักษา และร้อยละ 33.6 มีผลข้างเคียงในการรักษาซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เนื่องจากการทายา steroid ไม่ถูกวิธี ก่อนให้ความรู้ผู้ป่วยมีคะแนน PASI เฉลี่ย 12.78 จัดระดับความรุนแรงอยู่ในกลุ่ม severe ร้อยละ 35.7, mild ร้อยละ 33.3 และ moderate ร้อยละ 31.0 หลังการให้ความรู้ผู้ป่วยสะเก็ดเงินมีคะแนน PASI เฉลี่ยที่ลดลงเท่ากับ 6.4 และมีความรุนแรงของผื่นสะเก็ดเงินลดลงอยู่ในกลุ่ม mild ร้อยละ 63.3 moderate ร้อยละ 21.1 และ severe ร้อยละ14.1 สอดคล้องกับผลระดับคุณภาพชีวิต (DLQI) และ Psoriasis disability index (PDI) หลังการให้ความรู้ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ผู้ป่วยสะเก็ดเงินประมาณ ร้อยละ 50 มีจานวนสมาชิกในครอบครัว 3-4 คน ผู้ป่วยร้อยละ 67.2 มีญาติช่วยดูแลทายาให้ ซึ่งผู้ที่ช่วยดูแลมากที่สุด คือ ภรรยา ร้อยละ 29.7 หลังการให้ความรู้ผู้ป่วยและญาติ ในกลุ่มผู้ป่วยสะเก็ดเงินที่มีญาติดูแลมีคะแนนเฉลี่ยความรุนแรงของโรค ซึ่งลดลงมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีญาติดูแล แต่ไม่มีนัยสาคัญทางสถิติ หลังการให้ความรู้ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับโรคสะเก็ดเงิน คะแนนเฉลี่ยความรู้ของผู้ป่วยและญาติสูงขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ระดับความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคสะเก็ดเงินของผู้ป่วยมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยสะเก็ดเงิน ดังนั้นจึงควรให้ความสาคัญกับการจัดกิจกรรมกลุ่มให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวอย่างเหมาะสม
 
 
ที่มา
Regional 11 Medical Journal ปี 2561, July-September ปีที่: 32 ฉบับที่ 3 หน้า 1069-1088
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Psoriasis, คุณภาพชี่วิต, The Psoriasis Area and Severity Index (PASI), โรคสะเก็ดเงิน, การประเมินความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงิน