การใช้ Lidocaine spray ในการระงับอาการปวดระหว่างการดูดเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
ปวีร์ กอสุวรรณ, บุษบา วิริยะสิริเวช์*
Department of obstetrics & Gynecology, Faculty of Medicine, Vajira Hospital, Navamindradhiraj University, Bangkok 10300, Thailand., Telephone: (662) 244-3000, Email address: wboosaba@nmu.ac.th
บทคัดย่อ
การใช้ Lidocaine spray ในการระงับอาการปวดระหว่างการดูดเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกที่ ห้องตรวจผู้ป่วยนอก: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการพ่น 10% Lidocaine spray เพื่อลดความเจ็บปวดขณะเก็บดูดชิ้นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก
วัสดุและวิธีการ:  สตรีที่มีข้อบ่งชี้ในการเก็บชิ้นเนื้อโพรงมดลูกจำนวน 50 ราย ที่มารับการตรวจที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก ภาค วิชาสูตินรีเวช คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล เข้าร่วมการศึกษา โดยใช้อุปกรณ์ Wallach Endocell® เก็บตรวจชิ้นเนื้อโพรง มดลูก ทำการสุ่มโดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยา 10%  Lidocaine spray และกลุ่ม Placebo พ่นก่อนทำหัตถการ ทั้งหมด 5 puff โดย 4 puff ที่ บริเวณผิวปากมดลูก และ 1 puff ที่บริเวณปากมดลูกด้านใน ทำการวัดระดับความเจ็บปวดโดย ใช้ 10 cm-visual analog scale (VAS-10) ขณะทำหัตถการเก็บชิ้นเนื้อโพรงมดลูก, หลังเก็บดูดชิ้นเนื้อโพรงทันทีและคะแนน ความเจ็บปวดหลังทำ 15, 30 นาที ตามลำดับ
ผลการศึกษา:   กลุ่มที่ได้รับ 10%  Lidocaine spray พบค่าเฉลี่ยความเจ็บปวดต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับ Placebo อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ทั้งขณะทำหัตถการเก็บดูดชิ้นเนื้อโพรงมดลูก, หลังเก็บดูดชิ้นเนื้อโพรงทันทีและคะแนนความเจ็บปวดหลังทำ 15, 30 นาทีโดยค่าเฉลี่ยความเจ็บปวด 3.56 ± 1.50 ในกลุ่มที่ได้รับ 10%  Lidocaine spray (n=25) และ 7.28 ± 1.20 ในกลมุ่ Placebo (n = 25) (p < 0.001).  ค่าเฉลี่ยความเจ็บปวดในกลุ่ม 10%  Lidocaine หลังเก็บดูดชิ้นเนื้อโพรงทันทีและคะแนนความเจ็บปวด หลังทำ 15, 30 นาที คือ 3.04 ± 1.31, 0.80 ± 1.41, 0.08 ± 0.40 ตามลำดับ และค่าเฉลี่ยความเจ็บปวดในกลุ่ม Placebo คือ 7.08 ± 1.19, 3.92 ± 1.47, 1.92 ± 1.41  ตามลำดับ
 สรุป:  การพ่น 10%  Lidocaine spray ที่บริเวณผิวปากมดลูก และปากมดลูกด้านใน มีประสิทธิภาพในการลดอาการปวด ระหว่างการดูดชิ้นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกจนถึงหลังทำหัตถการ 30 นาที
 
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2561, October ปีที่: 26 ฉบับที่ 4 หน้า 262-269
คำสำคัญ
Analgesia, Endometrial biopsy, Pain control, lidocaine spray, เก็บชิ้นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก, ลิโดเคนสเปรย์, ลดอาการเจ็บปวด, ยาระงับความเจ็บปวด