ประสิทธิผลของยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน ต่อการลดภาวะเนื้อฟันไวเกินเปรียบเทียบระหว่างการแปรงฟัน เพียงอย่างเดียวและการแปรงฟันร่วมกับการนวด
รัชนู ชาญสมาธิ์*, รณยุทธ ชาญสมาธิ์
ภาควิชาทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการลดลง ของอาการเสียวฟันเมื่อใช้ยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน ด้วย การแปรงเพียงอย่างเดียวเทียบกับการแปรงร่วมกับการ นวด โดยคัดเลือกอาสาสมัครที่มีอาการเสียวสฟันทั้งหมด 70 คน แบ่งอาสาสมัครเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 35 คน กลุ่มที่ 1 แปรงฟันด้วยยาสีฟันลดอาการเสียวฟันเพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 แปรงฟันด้วยยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน จากนั้น นวดบริเวณที่เสียวฟันด้วยยาสีฟันลดอาการเสียวฟันอีกครั้งเป็นเวลา 1 นาที วันละ 1 ครั้ง ทำการทดสอบอาการ เสียวฟันด้วยการกระตุ้นด้วยลม และความเย็น อาสาสมัครประเมินระดับการเสียวฟันโดยใช้ VAS score ที่ก่อนเริ่ม การศึกษา 2 4 และ 8 สัปดาห์หลังการใช้ยาสีฟัน ทดสอบ ทางสถิติแพร์ ที เทส (Paired T-test) และอินดีเพนเดนท์ ที เทส (Independent T-test) ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ย VAS score ของทั้งสองกลุ่มลดลงอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยกลุ่มที่แปรงเพียงอย่างเดียว และกลุ่มที่แปรงร่วมกับนวดทำให้อาการเสียวฟันลดลง ร้อยละ 56 และ 70 ตามลำดับ จากผลการศึกษาสรปุได้ว่ากลุ่มที่แปลงร่วมกับนวดทำให้อาการเสียวฟันลดลงมากกว่ากลุ่มที่แปรงเพียงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
 
 
ที่มา
เชียงใหม่ทันตแพทยสาร ปี 2561, January-April ปีที่: 39 ฉบับที่ 1 หน้า 53-60
คำสำคัญ
dentinal hypersensitivity, brushing combined with massage, desensitizing paste, เสียวฟัน, แปรงร่วมกับนวด, ยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน