การเปรียบเทียบผลของฮอร์โมนทดแทนแบบแผ่นแปะผิวหนังขนาดต่ำและขนาดมาตรฐานในสตรีไทยวัยหมดระดู
กระเษียร ปัญญาคำเลิศ, ทัศน์วรรณ รังรักษ์ศิริวร*, นิมิต เตชไกรชนะ, สุรางค์ ตรีรัตนชาติ
Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Rama IV Rd, Pathumwan, Bangkok 10330, Thailand. Phone: 0-2256-4241, Fax: 0-2254-9292, E-mail: trungrux@gmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุ ประสงค์: ศึกษาระดับ Serum estradiol (E2) ในสตรีวัยหมดระดูที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนชนิดแผ่นแปะผิวหนังขนาด 0.025 มิลลิกรัมต่อวัน และขนาด 0.05 มิลลิกรัมต่อวัน โดยใช้ Equivalent testวัสดุและวิธีการ: สตรีวัยหมดระดูที่เข้าได้กับเกณฑ์การศึกษาจำนวน 108 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้รับฮอร์โมนทดแทนชนิดแผ่นแปะผิวหนัง ขนาด 0.025 มิลลิกรัมต่อวัน และอีกกลุ่มได้ขนาด 0.05 มิลลิกรัมต่อวัน หลังจากใช้ยาไป 12 สัปดาห์ จึงได้ทำการตรวจระดับ Serum E2 และตรวจภายในและคำนวณหา Vaginal Maturation Index (VMI) และบันทึกผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาซึ่งได้แก่ อาการเจ็บเต้านม, ผื่นแพ้บริเวณที่แปะยา, น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และอาการปวดศีรษะผลการศึกษา: ระดับ Serum E2 ในกลุ่มที่ ได้รับฮอร์โมนทดแทนชนิดแผ่นแปะผิวหนัง ขนาด 0.025มิลลิกรัมต่อวันและขนาด 0.05 มิลลิกรัมต่อวันคือ 42.43 + 35.11 พิโคกรัมต่อวันและ 48.41 + 22.36 พิโคกรัมต่อวันตามลำดับซึ่งเมื่อวิเคราะห์โดยใช้ Equivalent test พบว่าทั้ง 2 กลุ่มแทนกันได้ ค่าเฉลี่ยของ VMI ในทั้ง 2 ลุ่มไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อาการข้างเคียงไม่แตกต่างในทั้ง 2 กลุ่ม โดยพบว่ากลุ่มที ่ได้ฮอร์โมนขนาดต่ำมีอาการข้างเคียงน้อยกว่ากลุ่มที่ได้ขนาดมาตรฐานสรุป: ฮอร์โมนทดแทนชนิดแผ่นแปะผิวหนัง ขนาด 0.025 มิลลิกรัมต่อวันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ จะมาใช้ในสตรีวัยหมดระดูที่ต้องการฮอร์โมนทดแทน โดยยังคงมีประสิทธิภาพในการป้องกันและรักษาอาการในวัยหมดระดู และในสตรีที่มีความกังวลในเรื่องผลข้างเคียงจากการใช้ยา
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, September ปีที่: 89 ฉบับที่ 9 หน้า 1362-1367
คำสำคัญ
Lower dosage, Menopause, Serum estradiol, Transdermal patch