ผลทันทีของการรักษาด้วยแผ่นประคบร้อนที่แตกต่างกันต่อจุดกดเจ็บชนิดแฝงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อบ่า: การทดลองทางคลินิกโดยมีการสุ่มตัวอย่างแบบปกปิดทางเดียว
จินดารัตน์ เขียววงศ์, ประภัสสร เส้งสุ้น*, มัลลิกา หลีสวัสดิ์, วทันยา พงศธรกุล, สุดธิดา ประทีป
สาขาวิชากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 80160
บทคัดย่อ
การศึกษาเบื้องต้นเพื่อเปรียบเทียบผลทันทีของการรักษาด้วยแผ่นประคบร้อนแบบร้อนชื้น แผ่นประคบร้อน สมุนไพร และแผ่นประคบร้อนไฟฟ้าต่อจุดกดเจ็บชนิดแฝงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อบ่าโดยผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เพศหญิง จำนวน 18 คน ถูกประเมินอาการปวดกล้ามเนื้อบ่าข้างขวาและระดับกิจกรรมทางกาย ค่าระดับความรู้สึกกดเจ็บด้วยแรงกด ระดับความรู้สึกความเจ็บปวดด้วยสายตาและความยืดหยุ่นของกล้มเนื้อบ่าข้างขวาถูกบันทึกก่อนและหลังได้รับการวางแผ่นประคบร้อนทั้ง 3 ชนิด เป็นระยะเวลา 20 นาที พบว่าหลังการวางแผ่นประคบร้อนทั้ง 3 ประเภท     ระดับความรู้สึกกดเจ็บด้วยแรงกด    ระดับความรู้สึกความเจ็บปวดด้วยสายตาและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อบ่าข้างขวา ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) และมี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระดับความรู้สึกกดเจ็บด้วยแรงกด ระดับความรู้สึกความเจ็บปวดด้วยสายตา และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อบ่าข้างขวาก่อนและหลังได้รับการวางแผ่นประคบร้อนทั้ง 3 ชนิด (p < 0.05) การรักษาด้วยแผ่นประคบร้อนทั้ง 3 ชนิด สามารถลดความเจ็บปวดของจุดกดเจ็บแฝงและเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อบ่าได้ผลใกล้เคียงกัน แต่ผู้ใช้แผ่นประคบร้อนสมุนไพรจะได้รับความรู้สึกผ่อนคลายและบรรเทาอาการปวดได้ดีกว่าชนิดอื่น     
 
ที่มา
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปี 2562, May-August ปีที่: 17 ฉบับที่ 2 หน้า 205-213
คำสำคัญ
กล้ามเนื้อบ่า, Upper trapezius muscle, Thai herbal hot pack, moist hot pack, electrical hot pack, latent trigger point, แผ่นประคบร้อนแบบร้อนชื้น, แผน่ประคบร้อนสมนุไพร, แผ่นประคบร้อนไฟฟ้า, จดุกดเจ็บชนิดแฝง