ประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลแบบองค์รวมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคลมชัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
เฉลิมขวัญ พวงสวัสดิ์*, ธัญลักษณ์ บรรลิขิตกุล, พนิดา ศรีคชินทร์
Nurse-led Epilepsy Clinic, Chulalongkorn Comprehensive Epilepsy center of excellence
บทคัดย่อ
          การทดลองกึ่งวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลแบบองค์รวมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคลมชัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยเปรียบเทียบความถี่ของการชัก คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและแบบสำรวจคุณภาพชีวิต (QOLUE-31) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ด้วยสถิติ t=test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตมากกว่าก่อนทดลองและมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p=0.000) ส่วนความถี่ของการชักของกลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนกับหลังการทดลองไม่แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกับในกลุ่มควบคุม แตกต่างจากก่อนทดลอง และแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
 
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ ปี 2562, April-June ปีที่: 42 ฉบับที่ 2 หน้า 96-105
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยโรคลมชัก, Health promotion, คุณภาพชี่วิต, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, holistic nursing care, patients with epilepsy, การพยาบาลแบบองค์รวม