ประสิทธิผลเบื้องต้นของยาทาพระเส้นเพื่อลดอาการปวดเข่าของผู้ป่วยโรคลมจับโปงแห้งเข่าทางการแพทย์แผนไทย
มนตร์ปาจรีย์ ณ ร้อยเอ็ด*, พาสินี บัวกุม, เพ็ญพิมล จิตรวุฒิวาสน์, อุไรลักษณ์ วันทอง
สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44000
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลเบื้องต้นของยาทาพระเส้นในการบรรเทาอาการปวดเข่าจาก โรคลมจับโปงแห้งเข่าทางการแพทย์แผนไทยเป็นการศึกษาผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีอาการปวดเข่าโดยการวินิจฉัยของแพทย์ แผนไทยประยุกต์ว่าเป็นโรคจับโปงแห้งเข่า ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่าสามัคคี ตำบลพระเจ้า อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 50 คน โดยสุ่มแบบ randomized double-blinded controlled trial แบ่ง กลุ่มออกเป็น 2กลุ่ม กลุ่มละ 25 คนเท่ากัน กลุ่มที่ 1 เป็นผู้ที่ได้รับยาทาพระเส้น กลุ่มที่ 2 เป็นผู้ที่ได้รับยาหลอก โดยให้ผู้เข้าร่วมวิจัยทายาบริเวณเข่า วันละ 3 ครั้ง เวลาเช้า กลางวัน และก่อนนอน ติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน ประเมินผลก่อนและหลังการใช้ยาด้วยแบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูลใช้สถิติร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลแบบประเมินระดับความเจ็บปวด Visual Analog Scale (VAS) แบบประเมินอาการโรคข้อเข่าเสื่อม Western Ontario and McMaster University (WOMAC) เครื่องมือวัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่า โกนิโอมิเตอร์ (goniometer) ใช้paired sample t-test และการเปรียบเทียบหลังการรักษาระหว่างกลุ่มใช้ independent sample t-test          ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นเพศหญิง จำนวน 33 คน (ร้อยละ66.0) มีช่วงอายุ60-69 ปี จำนวน 14 คน (ร้อยละ 28.0) ข้อมูลกลุ่มที่ 1 ระดับความปวดข้อเข่าลดลง ระดับอาการข้อเข่าฝืดลดลง ระดับความสามารถในการใช้งานข้อเข่าดีขึ้น และองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าดีขึ้น ซึ่งแตกต่างกันอย่าง            มีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อเปรียบ เทียบระดับความปวด ระดับอาการข้อเข่าฝืด ระดับความสามารถในการใช้งานข้อเข่า และองศาการเคลื่อนไหวของเข่า หลังได้รับยาระหว่างกลุ่ม พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ดังนั้น ยาทาพระเส้นในตำรับโอสถพระนารายณ์มีประสิทธิผลเบื้องต้นในการลดอาการปวดเข่า ลดอาการข้อเข่าฝืด ทำ ให้ความสามารถในการใช้งานของข้อเข่าดีขึ้น และองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าดีขึ้น
 
ที่มา
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปี 2562, September-December ปีที่: 17 ฉบับที่ 3 หน้า 447-459
คำสำคัญ
Knee pain, "ยาทาพระเส้น, ปวดเข่า, การวินิจฉัยทางการแพทย์แผนไทย, โรคลมจับโปงแห้งเข่า", Ya-Tha-Pra-Sen, Thai traditional diagnosis, Lom-Jub-Pong-Hang Kao