การเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัดระหว่างการใช้อัลตราซาวนด์และเครื่องกระตุ้นไฟฟ้ากระแสอินเตอร์เฟอเรนเชียลในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคปวดหลังส่วนล่าง โรงพยาลชัยภูมิ
พิชัย ลาภเกิด
Department of Physical Therapy, Rehabilitation Medicine, Chaiyaphum Hospital, Chaiyaphum
บทคัดย่อ
ผู้ป่วยปวดหลังส่วนกลาง (Low back pain) ที่มารับบริการในแผนกายภาพบำบัด โรงพยาบาลชัยภูมิ ปี 2560 นั้นมีจำนวนมากถึง 3801 ราย โดยคิดเป็นร้อยละ 33.4 ของผู้ป่วยที่มารับบริการทั้งหมด ทั้งนี้ผู้ป่วยมักจะได้รับการรักษาโดยใช้อัลตราซาวน์ และการกระตุ้นไฟฟ้ากระแสอินเตอร์เฟอร์เรนเชียล อย่างไรก็ตามการรักษาเพื่อลดอาการปวดหลัง และเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวโดยใช้เครื่องอัลตราซาวน์ และการกระตุ้นไฟฟ้ากระแสอินเตอร์เฟอร์เรนเชียล ยังไม่เคยมีการรักษาเปรียบเทียบประสิทธิผลว่าการรักษาใด มีประสิทธิภาพสูงกว่า และจะสามารถใช้ทดแทนกันได้หรือไม่ จึงเป็นที่มาของการศึกษานี้
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด ระหว่างการใช้เครื่องอัลตราซาวน์ หรือการกระตุ้นไฟฟ้ากระแสอินเตอร์เฟิร์นเชียล ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคปวดหลังส่วนล่าง    จากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ในแผนกายภาพบำบัด โรงพยาบาลชัยภูมิ
วิธีดำเนินการศึกษา : ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคปวดหลังส่วนล่างจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อจำนวน 60 ราย ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มโดยวิธีสุ่ม เพื่อรับการรักษาทางกายภาพบำบัดด้วยการใช้                อัลตราซาวน์ หรือการกระตุ้นไฟฟ้ากระแสอินเตอร์เฟอร์เรนเชียลทั้งสองกลุ่ม จะได้รับการรักษาร่วมกับการประคบร้อน ทั้งนี้ผู้ป่วยจะได้รับการนัดเพื่อตรวจประเมินซ้ำ และรักษา จำนวน 5 ครั้งภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ ระดับความปวดบริเวณหลังส่วนล่าง และช่วงการเคลื่อนไหวของหลังจะถูกประเมินทุกครั้งภายหลังการรักษา
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีช่วงอายุ เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง รายได้ดัชนีมวลกายไม่แตกต่างกัน ก่อนการรักสาระดับความเจ็บปวดในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการใช้อัลตราซาวน์ (6.5 + 1.7) และการกระตุ้นไฟฟ้ากระแสอินเตอร์เฟอร์เรนเชียล (6.3 + 1.8 ) ไม่แตกต่างกัน รวมทั้งระยะเวลาการเคลื่อนไหวของหลังส่วนเอวก่อนการรักษาก็ไม่มีความแตกต่างกัน (p < 0.05) ผลการศึกษาพบว่า การรักษาด้วยการใช้อัลตราซาวน์ และการกระตุ้นไฟฟ้ากระแสอินเตอร์เฟอร์เรนเชียล ให้ผลดีในการลดอาการปวดหลัง(2.9 + 1.4 และ 3.0  + 1.6 ตามลำดับ) และเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวในทุกทิศทางได้ไม่แตกต่างกัน (p < 0.05)
สรุป : ผลการรักษาระหว่างการใช้อัลตราซาวน์ หรือไฟฟ้ากระแสอินเตอร์เฟอร์เรนเชียลในผู้ป่วย ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ให้ผลลดอาการปวดหลัง ลาเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของลำตัวส่วนเอวได้ไม่แตกต่างกัน
 
ที่มา
ชัยภูมิเวชสาร ปี 2561, April ปีที่: 38 ฉบับที่ 1 หน้า 48-57
คำสำคัญ
Low back pain, ปวดหลังส่วนล่าง, Ultrasound, interferential current, อัลตราซาวนด์, ไฟฟ้ากระแสอินเตอร์เฟอเรนเซียล