คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง เขตสุขภาพที่ 8 ประเทศไทย
เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, วรรณนภา สระทองหน, สุพัฒน์ อาสนะ*
ภาควิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลยัการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 8 คือจังหวัดสกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู จำนวน 360 ราย เป็นผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไปเทียม 72 ราย และผู้ป่วยที่ล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง 288 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (KDQL-36) ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงกันยายน 2560
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไปเทียมมีค่า x̄ ± S.D. ของคะแนนคุณภาพชีวิตโดยภาพรวม เท่ากับ 59.43±12.60 คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพทั่วไป (SF-36) อยู่ในระดับต่ำ (55.76 + 13.95) คุณภาพชีวิตสุขภาพด้าน โรคไต (SF-36) อยู่ในระดับปานกลาง (63.11 + 13.26) ด้านที่มีระดับคะแนนต่ำมาก คือด้านอาการทางร่างกาย (19.89 + 10.82)และด้านการนอนหลับ (45.64 + 14.53) ด้านที่มีระดับคะแนนสูง คือ ด้านสุขภาพจิตใจ (71.50 + 21.16) ด้านบทบาททางด้านร่างกาย (71.87 + 31.66) ด้านอิสระในการเดินทาง ( 72.91 + 27.75) ด้านเพศสัมพันธ์ (78.81 + 31.98) และด้านภาพลักษณ์ (78.47 + 23.47)  ผู้ป่วยที่ล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องมีค่า x̄ ± S.D.  ของคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวม เท่ากับ 50.58 + 9.79 คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพทั่วไป (SF-36) อยู่ในระดับต่ำมาก (45.40 + 11.35) คุณภาพชีวิตสุขภาพด้านโรคไต อยู่ในระดับต่ำ (55.75 + 11.55) ด้านที่มีระดับคะแนนต่ำมาก คือด้านอาการทางร่างกาย (24.43 + 11.33) ด้านความรู้สึกเป็นอิสระ (45.64 + 23.52) ด้านการนอนหลับ (45.76 + 15.45) ด้านสุขภาพทั่วไป (46.52 + 30.45) และด้านการทำงาน (48.95 + 36.75) ด้านที่มีระดับคะแนนสูงคือด้านภาพลักษณ์ (71.26 + 24.89) และด้านเพศสัมพันธ์ (74.94 + 33.52)
 
ที่มา
วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ ปี 2562, January-April ปีที่: 12 ฉบับที่ 1 หน้า 140-149
คำสำคัญ
คุณภาพชีวิต, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, คุณภาพชี่วิต, ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย, การล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง