ผลของการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อระหว่างมารดาและทารก ภายหลังคลอดโดยเร็ว ต่อประสิทธิภาพการดูดนมของทารกและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนานหนึ่งเดือน
กรกนก เกื้อสกุล, นิตยา สินสุกใส*, วรรณา พาหุวัฒนกร, วิทยา ถิฐาพันธ์
คณะพบาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 e-mail: nittaya.sin@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการวางทารกแรกเกิดบนอกมารดาแบบเนื้อแนบเนื้อภายหลังคลอดโดยเร็ว ต่อประสิทธิภาพการดูดนมของทารกก่อนจำ หน่ายและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 1 เดือน
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม (แบบปกปิดสองทาง)
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาและทารกแรกเกิดจำ นวน 59 คู่ โดยกำ หนดให้เป็นมารดาที่มีบุตร คนแรก อายุตั้งแต่ 18 ปีและน้อยกว่า 35 ปีตั้งครรภ์ครบกำ หนด และคลอดปกติณ โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งใน กรุงเทพมหานคร มารดาทารกจำ นวน 64 คู่ถูกสุ่มเข้ากลุ่มที่ศึกษาสองกลุ่ม เมื่อสิ้นสุดการศึกษามี30 คู่ในกลุ่มควบคุม และ 29 คู่ในกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับการดูแลด้วยวิธีวางทารกแรกเกิด บนอกมารดาแบบเนื้อแนบเนื้อภายใน 5 นาทีหลังคลอด นานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ 5 ชุด ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลการตั้งครรภ์และคลอด แบบบันทึกการให้นมทารก แบบประเมินประสิทธิภาพการดูดนมของทารก และแบบสัมภาษณ์การให้อาหารทารก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และไคสแควร์
ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีสัดส่วนทารกที่ดูดนมมารดาได้มีประสิทธิภาพเมื่อจำ หน่ายออกจากโรงพยาบาลมากกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) แต่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวภายหลังคลอด 1 เดือน ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05
สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลผดุงครรภ์ควรนำ วิธีการวางทารกบนอกมารดาโดยเร็วหลังคลอดเป็นเวลา อย่างน้อย 1 ชั่วโมง ไปใช้ในการเริ่มต้นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะแรกในห้องคลอด เนื่องจากสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ การดูดนมของทารกก่อนออกจากโรงพยาบาลได้
 
ที่มา
Nursing Science Journal of Thailand ปี 2563, October-December ปีที่: 37 ฉบับที่ 4 หน้า 66-78
คำสำคัญ
exclusive breastfeeding, skin-to-skin contact, suckling, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว, การสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อ, การดูดนมแม่ของทารก