ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ 2% คลอเฮกซิดีน กลูโคเนทใน 70% แอลกอฮอล์เปรียบเทียบกับ 10 % โพวิโดนไอโอดีน ในการเพาะเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วยทารกแรกเกิด
พิมแพร เพ่งพิศ*, อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์, พรอำภา บรรจงมณี, ศริยา ประจักษ์ธรรม
Department of Pediatrics, Faculty of Medicine, Thammasat University, Pathumthani 12120 Thailand; Phone: +66-2-9269514 Fax: +66-2-9269513 E-mail: Ptasneam@gmail.com
บทคัดย่อ
บทนำ : การเพาะเชื้อเป็นวิธีมาตรฐานในการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งอัตราปนเปื้อนค่อนข้างสูง การทำความสะอาดผิวหนังจึงเป็นขั้นตอนสำคัญในการลดการปนเปื้อน ปัจจุบันยังไม่มีคำแนะนำเกี่ยวกับน้ำยาที่ใช้ทำความสะอาดผิวหนังในกลุ่มผู้ป่วยทารกแรกเกิด
วิธีวิจัย : การศึกษาแบบ randomized controlled trial prospective cohort study ในผู้ป่วยเด็กอายุไม่เกิน 1 เดือน ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงกันยายน 2559 เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ 2% Chlorhexidine gluconate in 70% alcohol กับ 10 % povidone iodine ในการลดการปนเปื้อนจากการเพาะเชื้อในเลือด และเปรียบเทียบผลข้างเคียงของน้ำยาทั้งสองชนิด โดยมีแพทย์ประจำบ้าน แพทย์ใช้ทุนและพยาบาลเป็นผู้เจาะเลือด
ผลการวิจัย : ไม่พบความแตกต่างของข้อมูลพื้นฐานในประชากรทั้งสองกลุ่ม โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 164 ราย กลุ่มที่ 1 เช็ดผิวหนังด้วย chlorhexidine in alcohol และกลุ่มที่ 2 ใช้ Povidone iodine พบเชื้อปนเปื้อนทั้งหมดร้อยละ 2.13 คือ coagulase-negative staphylococci และไม่พบความแตกต่างของอัตราการปนเปื้อนจากการเพาะเชื้อทั้งสองกลุ่ม (ร้อยละ 1.83 และ ร้อยละ 2.43 ตามลำดับ) ค่า risk difference เท่ากับร้อยละ -0.61 (95% CI: -3.77-2.55) และไม่พบผลข้างเคียงจากการใช้น้ำยาสองชนิด
สรุปผลงานวิจัย : น้ำยาทั้งสองชนิดมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกันในการลดการปนเปื้อนจากการเพาะเชื้อในกระแสเลือด และมีความปลอดภัยในการใช้เป็นน้ำยาทำความสะอาดผิวหนังก่อนเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อในผู้ป่วยทารกแรกเกิด
 
 
ที่มา
ธรรมศาสตร์เวชสาร ปี 2563, January-March ปีที่: 20 ฉบับที่ 1 หน้า 30-39
คำสำคัญ
neonates, ทารกแรกเกิด, Blood culture, Contamination, 2% chlorhexidine gluconate in 70% alcohol, 10% povidone iodine, การเพาะเชื้อในเลือด, การปนเปื้อน, 2% คลอเฮกซิดีน กลูโคเนทใน 70% แอลกอฮอล์, 10 %โพวโดนไอดีน