คุณภาพของการบรรจุซีเมนต์ลงในโพรงกระดูกต้นขา เปรียบเทียบระหว่างปืนฉีดซิลิโคนกับปืนฉีดซีเมนต์มาตรฐาน: การศึกษาจากภาพรังสีของกระดูกต้นขาวัว
ณัฐวุฒิ เพ็งคง, วัชระ มณีรัตน์โรจน์, อนุวัตร พงษ์คุณากร*
Department of Orthopaedic Surgery, Lampang Hospital and Medical Education Center, 280 Paholyothin Rd, Muang, Lampang 52000, Thailand. Phone: 054-223-623 ext. 5121, Fax: 054-219-270, E-mail:dranuwat@gmail.com
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: วิธี การใช้ซีเมนต์ยึดกับกระดูกต้นขาในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมที ่เป็นมาตรฐานในปัจจุบันจำเป็นต้องใช้ชุดปืนฉีดซีเมนต์ช่วยในการบรรจุซีเมนต์ลงไปในโพรงกระดูก ซึ่งมีราคาแพงและนำเข้าจากต่างประเทศ ยังไม่เคยมีการศึกษาถึงการนำปืนฉีดซิลิโคนมาประยุกต์ใช้เป็นอุปกรณ์ ฉีดซีเมนต์ยึดกระดูกวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพของการบรรจุ ซีเมนต์ลงในโพรงกระดูกต้นขา เปรียบเทียบระหว่างการบรรจุด้วยปืนฉีดซีเมนต์ มาตรฐาน กับอุปกรณ์ฉีดซีเมนต์ที่ประดิษฐ์จากปืนฉีดซิลิโคนวัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบทดลองในกระดูกต้นขาหลังของวัวที่ผ่านการชำแหละแล้วจำนวน 10 คู่ หลังจากที่เจาะปลายกระดูกส่วนต้นให้เป็นโพรงแล้ว กระดูกแต่ละคู ่จะถูกบรรจุซีเมนต์ลงไป โดยสุ่มให้ข้างหนึ่งใช้ชุ ดปืนฉีดซีเมนต์มาตรฐาน อีกข้างหนึ่งใช้ อุปกรณ์ฉีดซีเมนต์ที่ประดิษฐ์จากปืนฉีดซิลิโคน ใส่ก้านข้อสะโพกเทียมและนำกระดูกไปถ่ายภาพรังสี ประเมินคุณภาพการแทรกตัวของซีเมนต์ เข้าไปในเนื้อกระดูก และปริมาณการกระจายตัวของซีเมนต์ โดยอ่านจากภาพรังสี แล้วให้คะแนนตามเกณฑ์ที่ดัดแปลงจากวิธีของ Barrack โดยแบ่งเป็น 14 zone ตามวิธีของ Gruen เปรียบเทียบกันทั้ง 2 ข้าง โดยใช้สถิติ Wilcoxon matched pairs signed-rank test วิเคราะห์ความสอดคล้อง ของการวัด โดยการวัดซ้ำด้วยผู้ วัดคนเดิมและผู้วัดต่างคนกันด้วยการวิเคราะห์ Kappaผลการศึกษา: คุณภาพของการแทรกตัวของซีเมนต์เข้าไปในเนื้อกระดู ก และปริมาณการกระจายตัวของซีเมนต์ที่อ่านจากภาพรังสี ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างกลุ่มที่บรรจุซีเมนต์ด้วยชุดปืนฉีดซิลิโคน กับกลุ่มที่บรรจุด้วยชุดปืนฉีดซีเมนต์มาตรฐาน ทั้ง 14 Gruen zone (p > 0.05) ความสอดคล้องของการวัดโดยผู้วัดคนเดิม และผู้วัดต่างคนกัน อยู่ในระดับปานกลาง (Kappa = 0.71 และ 0.59 ตามลำดับ)สรุป: คุณภาพของการบรรจุซีเมนต์ลงในโพรงกระดูกต้นขาของอุปกรณ์ ฉีดซีเมนต์ที่ประดิษฐ์จากปืนฉีดซิลิโคนกับปืนฉีดซีเมนต์มาตรฐาน ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อประเมินจากภาพถ่ายรังสี อุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทางคลินิก เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2551, January ปีที่: 91 ฉบับที่ 1 หน้า 62-67
คำสำคัญ
Caulking gun, Cement gun, Cementing technique, Femoral cementation, Hip replacement surgery, Invented