การใช้ etoricoxib รับประทานครั้งเดียวก่อนผ่าตัดเพื่อลดความปวดหลังผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง
วราภรณ์ เชื้ออินทร์*, วัฒนา ตันทนะเทวินทร์, วิทูรย์ ประเสริฐเจริญสุข, วิมลรัตน์ ศรีราช, สมบูรณ์ เทียนทอง, อักษร พูลนิติพร
Departments of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen 4002, Thailand. Phone: 043-348-390, Fax: 043-348-390, E-mail: warcha@kku.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการให้ยา etoricoxib ในขนาด 180 และ 120 มิลลิกรัม เทียบกับยาหลอก โดยให้รับประทานครั้งเดียวก่อนมาผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง ในการระงับปวดและการใช้ยามอร์ฟีนในระยะหลังผ่าตัดการออกแบบการศึกษา: randomized, double-blind, placebo-controlled studyวัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยที่มาผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องโดยการวางยาสลบ ถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) etoricoxib 120 มิลลิกรัม (n = 17) 2) etoricoxib 180 มิลลิกรัม (n = 17) และ 3) ยาหลอก (n = 15) โดยผู้ป่วยแต่ละรายได้รับยา 2 ชั่วโมง ก่อนมาห้องผ่าตัดในระยะหลังผ่าตัดผู้ป่วยได้รับมอร์ฟีนฉีดทางหลอดเลือดดำโดยใช้เครื่องจ่ายยาที่สามารถควบคุมด้วยตนเอง (PCA) บันทึกปริมาณมอร์ฟีนที่ใช้ไปใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ประเมินระดับความปวด ขณะพัก ขณะไอ และอาการแทรกซ้อนที่อาจพบได้ ที่เวลา 1, 2, 4, 8 และ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด รวมทั้งประเมินระดับ ความพอใจต่อยาระงับปวดที่ได้รับเมื่อครบ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดผลการศึกษา: กลุ่มที่ได้รับยา etoricoxib 120 มิลลิกรัม และ 180 มิลลิกรัม มีปริมาณการใช้มอร์ฟีนเฉลี่ย 26.4 (11.2) และ 27.2 (9.9) มิลลิกรัม เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้ยาหลอกซึ่งใช้ยาไป 36.6 (8.9) มิลลิกรัม ที่เวลา 8 ชั่วโมง หลังผ่าตัดพบว่ากลุ่มที่ได้รับยา etoricoxib มีระดับความปวดทั้งขณะพักและขณะไอน้อยกว่า กลุ่มที่ได้ รับยาหลอกเช่นเดียวกับระดับความปวด ขณะไอที่เวลา 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ผู้ป่วยที่ได้รับยา etoricoxib ประเมินระดับความพอใจต่อยาระงับปวด ที่ได้รับดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก และในการศึกษานี้ ไม่พบอาการ แทรกซ้อนที่เป็นอันตรายสรุป: กลุ่มที่ได้รับยา etoricoxib ขนาด 180 มิลลิกรัม ครั้งเดียวก่อนการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง ให้ผลในการระงับปวด ไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับยาขนาด 120 มิลลิกรัม 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2551, January ปีที่: 91 ฉบับที่ 1 หน้า 68-73
คำสำคัญ
Etoricoxib, Abdominal hysterectomy, Morphine consumption, Preventive analgesia