ประสิทธิภาพของ Short acting beta2-agonist เปรียบเทียบกับ Ipratropium bromide combined with nonselective beta2 agonist ในการรักษาโรคหืดกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรงพยาบาล
ณหทัย ศรีวัฒนวงศ์*, พีรอาจ ศักดิ์สิทธิวัฒนะ, นันทนา ศิริพิพัฒนมงคล
แผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
บทคัดย่อ
ความสำคัญ : การรักษาโรคหืดกำเริบเฉียบพลันในปัจจุบันได้มีการนำ Short      acting beta2-agonist พ่นสลับกับIpratropium bromide combined with nonselective beta2 agonist มาใช้ในการลดอัตรา การนอนโรงพยาบาล จากทั้งแผนกผู้ป่วยนอกและแผนกฉุกเฉินได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ยังไม่มีการนำมา ศึกษาถึงประสิทธิภาพในการช่วยลดอาการหืดกำเริบเฉียบพลัน    ของผู้ป่วยที่ได้รับการนอนโรงพยาบาลและ การลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของ Short acting beta2-agonist (SABA) สลับกับIpratropium bromide combined with nonselective   beta2 agonist เทียบกับการพ่น SABA อย่างเดียว โดยเปรียบเทียบ คะแนน Siriraj asthma score (SAS) ในผู้ป่วยที่ได้รับการนอนโรงพยาบาลและการลดระยะเวลาในการ นอนโรงพยาบาล วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาพิสูจน์สมมุติฐานแบบ prospective  randomized controlled trial, single blinded ในผู้ป่วยเด็กอายุ 2-15 ปี ที่มี Siriraj Asthma score 4-7 คะแนน และได้รับการนอนโรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 1             มีนาคม พ.ศ.2561 จนถึง  31 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ผู้ป่วยจะได้รับการสุ่มแบ่งเป็นกลุ่มทดลองคือกลุ่มที่ ได้รับ SABA สลับกับ Ipratropium bromide combined with nonselective beta2 agonist และกลุ่มควบคุม (SABA  monotherapy) จากนั้นจะประเมิน  SAS ขณะadmit  และ 24  ชั่วโมงหลังการรักษา นำคะแนนที่ได้ มาเปรียบเทียบและนำระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลของทั้งสองกลุ่มมาเปรียบเทียบกัน ผลการศึกษา : ผู้ป่วยเด็กจำนวน 60 คน อายุ 2-15 ปี exclusion criteria 9 คน ปฏิเสธการเข้าร่วมโครงการ  1 คน ผู้ป่วย 50 คน ได้ทำการสุ่มแยกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มควบคุม (SABA monotherapy) 28 คน และกลุ่ม ทดลอง(Ipratropium bromide combined with nonselective  beta2 agonist สลับกับ SABA (dual therapy)) 22 คน พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย SAS ที่ลดลง 4.86 คะแนน (95%CI 4.36-5.36, p value  <0.001) และ กลุ่มควบคุมเฉลี่ยSAS ที่ลดลง 2.92 คะแนน (95%CI 2.50-3.34, p value <0.001) เมื่อเปรียบเทียบกัน พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนลดลงมากกว่า 1.93 คะแนน (95%CI 1.29-2.57, p value <0.001) และระยะ เวลาการนอนโรงพยาบาล ในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม 18.5 ชั่วโมง   (95%CI 3.30-33.69, p value 0.026) เมื่อวิเคราะห์ผลการทดลองเพิ่มเติมพบว่าในกลุ่มทดลองสามารถลด SAS มากกว่า 3 คะแนน ขึ้นไป ได้มากกว่ากลุ่มควบคุม (odd ratio) ถึง 2.51 เท่า  (P value 0.0033) และค่าเฉลี่ยของจำนวนผู้ป่วย ที่จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว   4  คน จะมากพอจะทำให้เห็นผลลัพธ์รักษาสำเร็จเพิ่มขึ้น 1 คน (Number needed to treat=3.12)
 
ที่มา
วารสารกุมารเวชศาสตร์ ปี 2562, October-December ปีที่: 58 ฉบับที่ 4 หน้า 260-2670
คำสำคัญ
Asthma, Ipratropium bromide combined with nonselective beta2 agonist, Siriraj Asthma score, Length of hospitalization