คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัดโรงพยาบาลมะเร็งสุราษฏร์ธานี
อุไรวรรณ ศุภศิลป์
Suratthani Cancer Hospital, Suratthani Province 84000
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายโดยพัฒนาจากแนวคิดการมีส่วนร่วมของครอบครัวของ Schepp (1995) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แบบผสมผสานด้านมะเร็ง สกลนคร จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน โดยการจับคู่ผู้ดูแลให้มีลักษณะใกล้เคียงกันในเรื่อง เพศ อายุ และระดับความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยในชีวิตประจำวัน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามปกติร่วมกับโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัว สื่อที่ใช้ประกอบด้วย แผนการสอน  คู่มือสำหรับครอบครัวเพื่อการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง แบบประคับประคองโดยโปรแกรมและสื่อผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินส่วนบุคคล แบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง แบบประเมินการสนับสนุนจากครอบครัวและแบบสัมภาษณ์การมีส่วนร่วม ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือชุดที่สองและสาม ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือชุดที่ 2 - 3 ได้ค่ะสัมประสิทธิ์แอลฟาของ   ครอนบาค เท่ากับ 0.90 และ 0.96 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายหลังได้รับโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( x̄ ก่อน = 70.91; และ x̄ หลัง = 77.64; t=2.23, P < .05)
(2) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติไม่แตกต่างกัน (x̄ ทดลอง = 77.64;  x̄ ควบคุม = 75.86; t=41, P>.05)
 
ที่มา
Regional 11 Medical Journal ปี 2562, July-September ปีที่: 33 ฉบับที่ 3 หน้า 461-468
คำสำคัญ
Quality of life, chemotherapy, คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, Breast cancer patient, คุณภาพชี่วิต, ยาเคมีบำาบัด