การศึกษาแบบสุ่มโดยวิธีปิดเปรียบเทียบผลของสารสวน 2 ชนิด สำหรับเตรียมผู้ป่วยก่อนรับการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย
วรพงศ์ เชาวน์ชูเวชช, ศักดิ์ชาย เรืองสิน*
Department of Surgery, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla 90110, Thailand. Phone: 074-451-401, Fax: 074-429-384, E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของสารสวน 2 ชนิดที่ใช้โดยทั่วไปในการเตรียมผู้ป่วยก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลายวัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยจำนวน 300 รายที่ ได้รับการจับฉลากแบบสุ่มเพื่อรับการเตรียมลำไส้ใหญ่ด้วยสารสวนโซเดียมฟอสเฟตความเข้มข้นสูง หรือโซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้นสูงอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นเวลา 60 และ 30 นาที ก่อนเริ่มทำการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย หลังการถ่ายอุจจาระเสร็จสิ้นผู้ป่วยจะได้รับการซักถามอาการและผลข้างเคียงจากสารสวนทันที หลังจากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลายตามปกติ ทั้งแพทย์ผู้ทำการส่องกล้องและผู้ป่วยจะไม่ทราบชนิดของสารสวนที่ได้รับ ในระหว่างการส่องกล้องแพทย์จะทำการถ่ายรูปเยื่อบุผิวของลำไส้ และสิ่งตกค้างที่เหลืออยู่เพื่อนำมาให้ผู้ทำการวิจัยเพียงหนึ่งท่านทำการประเมินคุณภาพของการเตรียมลำไส้ผลการศึกษา: จากการศึกษาไม่ พบภาวะแทรกซ้อนที่ เป็นอันตรายเกิดขึ้นกับผู้ป่วย คุณภาพของการเตรียมลำไส้ที่อยู่ในเกณฑ์ดี และดีมาก ในกลุ่มที่ได้รับสารสวนโซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้นสูง พบร้อยละ 76.9 และในกลุ่มที่ได้รับสารสวนโซเดียมฟอสเฟตความเข้มข้นสูง พบร้อยละ 72.9 (p = 0.423) ผู้ป่วยที่ได้รับสารสวนโซเดียมคลอไรด์จะพบอาการปวดมวนท้องมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.018)สรุป: สารสวนทั้งสองชนิดสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยโดยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านคุณภาพของการเตรียมลำไส้ สารสวนทั้งสองชนิดสามารถเตรียมลำไส้ได้อย่างมีประสิทธิผล จึงเหมาะในการใช้เตรียมลำไส้ ใหญ่ ส่วนปลาย สารสวนโซเดียมคลอไรด์มีราคาถูกกว่าอาจเป็นทางเลือกอีกตัวหนึ่งสำหรับโรงพยาบาลที่ต้องคำนึงถึงเรื่องราคาลงทุนเป็นสำคัญ
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2550, November ปีที่: 90 ฉบับที่ 11 หน้า 2296-2300
คำสำคัญ
Bowel preparation, Flexible sigmoidoscopy, Phosphate enema, Sodium chloride enema