การเปรียบเทียบ Validity และ Responsiveness ของแบบสอบถามคุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมไทย
บุญสิน ตั้งตระกูลวนิช*, วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์, สุทธิ วิวัฒน์วงศ์วนา, อลัน กีเตอร์
Department of Orthopaedic Surgery and Physical Medicine, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla 90110, Thailand. Fax: 074-212-915, E-mail: boonsin.b@psu.ac.th
บทคัดย่อ
แบบสอบถาม Short-Form 36 (SF-36) และWestern Ontario and McMaster Universities Osteoarthritis index (WOMAC) เป็นแบบสอบถามที่นิยมใช้สำหรับวัดคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม จุดประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของแบบสอบถามทั้งสองฉบับแปลเป็นไทยในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในคนไทยโดยการวินิจฉัยโรคใช้ตามเกณฑ์ของ American College of Rheumatology (ACR) ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาได้รับการรักษาเป็นเวลา 6 อาทิตย์ด้วยยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ และการให้ความรู้ ผู้ป่วยได้รับการสัมภาษณ์ 2 ครั้งก่อนและหลังการรักษา ในเรื่องข้อมูลพื้นฐานและข้อมูล SF-36 และ WOMAC คุณสมบัติของแบบสอบถามที่ศึกษาได้แก่ reliability, validity และ responsiveness reliability ทดสอบโดยใช้ Cronbach’s alpha validityตรวจสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละ domain ของ SF-36 และ WOMAC (Pearson’s test) ใช้ responsiveness ศึกษาเปรียบเทียบค่า SF-36 และ WOMAC ก่อนและหลังการรักษา (paired t test) ผลการศึกษามีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมทั้งสิ้น 50 คน (ชาย 4 หญิง 48) อายุเฉลี่ย 58.4 ปี ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยมีการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาร้อยละ 60 มีความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมอยู่ในระดับน้อย พบว่าค่า reliability ของ WOMAC อยู่ ในเกณฑ์ ดี ทั้งก่อนและหลังการรักษาในทุก domain ขณะที่ SF-36 มี raliability ต่ำกว่าโดยเฉพาะในด้าน role physical และbodily pain (Cronbach’s alpha น้อยกว่า 0.700) construct validity ระหว่าง SF-36 และ WOMAC มีค่า coefficient ระหว่าง -0.05 กับ -0.409 ทั้ง SF-36 และ WOMAC มีค่า responsiveness ที่ดี โดยสรุปแบบสอบถามคุณภาพชีวิต SF-36 และ WOMAC ฉบับแปลเป็นไทยเป็นแบบสอบถามที่ดี สามารถใช้วัดคุณภาพชีวิตผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในคนไทยได้
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, September ปีที่: 89 ฉบับที่ 9 หน้า 1454-1459
คำสำคัญ
Quality of life, Knee osteoarthritis