การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างทาร์และเบตาเมทาโซนวาเลอเรตในการรักษาโรคสะเก็ดเงินเรื้อรังชนิดแผ่น การศึกษาในประเทศไทย
กิติพงษ์ หาญเจริญ, ประสูตร ถาวรชัยสิทธิ์*
Department of Medicine, Lerdsin General Hospital, Bangkok 00000, Thailand. Phone: 0-2353-9798-9#2698, 081-983-4457, Fax: 0-2201-2107
บทคัดย่อ
การศึกษาประสิทธิภาพ ความปลอดภัยและความทนทานของทาร์ครีม (10% LCD, liquor carbonis detergens) เพื่อเปรียบเทียบกับเบตาเมทาโซนวาเลอเรตครีมในการรักษาโรคสะเก็ดเงินเรื้อรังชนิดแผ่นใหญ่ ที่กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลเลิดสิน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยใช้วิธีการสุ่มผู้ป่วยที่มีโรคสะเก็ดเงินเรื้อรังชนิดแผ่นที่มีเสถียรภาพขนาดน้อยและปานกลางเพื่อรักษาด้วยทาร์ครีม (10% LCD)หรือเบตาเมทาโซนวาเลอเรตครีม (0.1%) โดยให้ผู้ป่วยทุกคนเข้าสู่ภาวะปลอดการรักษา 2 สัปดาห์ และหลังจากนั้นให้ การรักษาด้วยครีม วันละ 2 ครั้ง นาน 6 สัปดาห์ การประเมินภาวะความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงิน โดยใช้เครื่องชี้วัดการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่และความรุนแรงของสะเก็ดเงิน (PASI) ในวันแรกของการรักษา สัปดาห์ที่ 2, 4, และ 6 ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยการลดลงของค่า score เครื่องชี้วัดการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่และความรุนแรงของสะเก็ดเงินจากวันแรกของการรักษาเท่ากับ 38.39% ของกลุ่มผู้ป่วยที่รักษาด้วยทาร์ครีม และเท่ากับ 69.36% ของกลุ่มผู้ป่วยที่รักษาด้วยเบตาเมทาโซนวาเลอเรตครีม การลดลงของเปอร์เซ็นต์ของค่าเฉลี่ยของค่า score เครื่องชี้วัดการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่และความรุนแรงของสะเก็ดเงินมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งสองกลุ่ม แต่การลดลงของกลุ่มผู้ป่วยที่รักษาด้วยเบตาเมทาโซนวาเลอเรตครีมมีนัยสำคัญสูงกว่าของกลุ่มผู้ป่วยที่รักษาด้วยทาร์ครีมสรุปผลการรักษาพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่รักษาด้วยเบตาเมทาโซนวาเลอเรตครีมสามารถหายทั้งหมดและดีขึ้นมาก มีนัยสำคัญมากกว่าของกลุ่มผู้ป่วยที่รักษาด้วยทาร์ครีม ภาวะแทรกซ้อนของยาทั้งสองจำกัดที่การระคายเคืองเล็กน้อยของผิวหนังโดยปราศจากภาวะแทรกซ้อนของระบบอื่นทั้งหมด เบตาเมทาโซนวาเลอเรตครีมมีความปลอดภัย ประสิทธิภาพความทนทานที่ดี และมีประสิทธิภาพดีกว่าทาร์ครีมซึ่งมีความสกปรก กลิ่นเหม็น และมีโอกาสเปื้อนเสื้อผ้า 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2550, October ปีที่: 90 ฉบับที่ 10 หน้า 1997-2002
คำสำคัญ
Betamethasone valerate, Coal tar, Plaque type psoriasis