การศึกษาเปรียบเทียบขิงกับยา dimenhydrinate ในการรักษาภาวะคลื่นไส้อาเจียนในสตรีตั้งครรภ์
จรินทร์ทิพย์ สมประสิทธิ์, อธิตา จันทเสนานนท์, เด่นศักดิ์ พงศ์โรจน์เผ่า*
Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Thammasat University, Pathumthani 12120, Thailand. Phone: 081-987-8817, E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของขิงกับยา dimenhydrinate ในการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนในสตรีตั้งครรภ์รูปแบบการวิจัย: Double blind randomized controlled trialสถานที่: ภาควิชาสูติศาสตร์ -นรีเวชวิทยาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์วัสดุและวิธีการ: ศึกษาตั้งแต่มกราคม พ.ศ. 2548 - ธันวาคม พ.ศ. 2548 สตรีตั้งครรภ์ที่มารับการตรวจครรภ์ ณ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนระหว่างตั้งครรภ์ จำนวน 170 ราย ได้ทำการแบ่งกลุ่มแบบสุ่ม เป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 85 ราย กลุ่ม A จะได้รับ ยาขิง 1 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง (1 แคปซูลประกอบด้วยขิง 0.5 กรัม) และกลุ่ม B จะได้รับยา dimenhydrinate (50 mg) ประเมิน Visual analogue nausea score (VANS) จำนวนครั้งที่อาเจียน และผลข้างเคียง วันที่ 0-7 ของการรักษาผลการศึกษา: ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของคะแนนอาการคลื่นไส้ (VANS) ในการรักษาทั้งสองกลุ่ม ในวันที่1 และ 2 ของการรักษา กลุ่มที่ได้รับยาขิงพบว่ามีจำนวนครั้งของการอาเจียนมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยา dimenhydrinate อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในวันที่ 3-7 ของการรักษา พบว่าจำนวนครั้งของการอาเจียนไม่แตกต่างกันทั้งสองกลุ่ม กลุ่มที่ได้รับยาขิงพบว่ามีอาการง่วงนอนน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยา dimenhydrinate อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป: จากการศึกษาพบว่าขิงมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนในสตรี ตั้งครรภ์ไม่แตกต่างจากยาdimenhydrinate แต่มีอาการข้างเคียงน้อยกว่า
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2550, September ปีที่: 90 ฉบับที่ 9 หน้า 1703-1709
คำสำคัญ
Ginger, Nausea, Vomiting, dimenhydrinate