เปรียบเทียบผลการลดระดับความรุนแรงของอาการ คุณภาพชีวิต และการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่ได้รับโปรแกรมการปฏิบัติตัวโรคหัวใจล้มเหลวเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการแนะนำตามปกติ
ธิดารัตน์ หนชัย*, ปนัดดา อินทรลาวัณย์, กาญจนา สนิท, วนัชพร จอมกัน, ไพจิตรา พรหมวิชัย
โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
บทคัดย่อ
ความสำคัญ: ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด ความรุนแรงของอาการภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นสาเหตุให้มาตรวจซ้ำก่อนวันนัด ต้องมานอนโรงพยาบาลซ้ำ และเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ 
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบคะแนนระดับความรุนแรงของอาการไม่สุขสบาย คะแนนคุณภาพชีวิต และการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำ ที่เปลี่ยนแปลงไปในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการปฏิบัติตัวภาวะหัวใจล้มเหลวกับกลุ่มที่ได้รับค้าแนะน้าตามปกติ
วิธีการศึกษา: randomized design (การเปิดซอง) ศึกษาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม และมาติดตามอาการที่ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ระหว่างธันวาคม พ.ศ. 2557 ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2558 ใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกระดับความรุนแรงของอาการภาวะหัวใจล้มเหลว แบบประเมินการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว แบบสอบถามคุณภาพชีวิต และแบบบันทึกการมาตรวจซ้ำก่อนวันนัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป 
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์จ้านวน 58 ราย เป็นชายต่อหญิงในอัตราส่วนประมาณ 3 ต่อ 4 ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 60 ปี ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษา หลังได้รับโปรแกรมการปฏิบัติตัวภาวะหัวใจล้มเหลวผู้ป่วยมีการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวดีขึ้น ระดับความรุนแรงของอาการไม่สุขสบายลดลงคุณภาพชีวิตดีขึ้น อัตราการ readmission ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ควรได้รับโปรแกรมการปฏิบัติตัวภาวะหัวใจล้มเหลวทุกราย
 
 
ที่มา
เชียงรายเวชสาร ปี 2563, ปีที่: 12 ฉบับที่ 1 หน้า 20-30
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, SELF-MANAGEMENT, Symptom severity, การจัดการตนเอง, คุณภาพชี่วิต, Congestive Heart Failure, ภาวะหัวใจล้มเหลว, Self-management behaviors, พฤติกรรมการจัดการตนเอง, ความรุนแรงของอาการ