การศึกษาเปรียบเทียบขี้ผึ้งเด็กแพนทีนอลและซิงค์ออกไซด์กับขี้ผึ้งเบสในการรักษาในเด็กที่เป็นผื่นผ้าอ้อมจากการถ่ายเหลว: การศึกษาจากหลายสถาบัน
วนิดา ลิ้มพงศานุรักษ์, วาณี วิสุทธิ์เสรีวงศ์, ศรีศุภลักษณ์ สิงคาลวณิช, ศิริวรรณ วนานุกูล*
Division of Pediatric Dermatology, Department of Pediatrics, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Rama IV Rd, Bangkok 10330, Thailand. Phone: 0-2256-4951, Fax: 0-2256-4911, E-mail: siriwanwananukul@yahoo.com
บทคัดย่อ
บทนำ: ความรุนแรงของผื่นผ้าอ้อมจากการถ่ายเหลวในผู้ป่วยแต่ละคนไม่เท่ากัน ขึ้นกับลักษณะและจำนวนครั้งของการถ่ายวัตถุ ประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิ ทธิภาพของขี้ผึ้งเด็กแพนทีนอลและซิงค์ ออกไซด์กับขี้ผึ้งเบส ในการรักษาภาวะผื่นผ้าอ้อมจากการถ่ายเหลวในเด็กโดยการวัดการระเหยของน้ำผ่านผิวหนัง (transepidermal water loss, TEWL)วัสดุและวิธีการ: การศึกษาไปข้างหน้าโดยรวบรวมผู้ป่วยเด็กที่มีผื่นผ้าอ้อมจากการถ่ายเหลว 46 คน จาก 3 สถาบัน แบ่งเป็นกลุ่มโดยไม่ให้ผู้วิจัยทราบว่าผู้ป่วยได้รับการทาขี้ผึ้งเด็กแพนทีนอลและซิงค์ออกไซด์กับครีมเบสที่ด้านใดของผื่นในผู้ป่วยคนเดียวกัน ทำการวัด TEWL ก่อนทาและในวันที่ 1, 3 และ 7 ของการทา ประสิทธิภาพของการรักษาดูจากการที่ผื่นหายหมดผลการศึกษา: TEWL ก่อนการรักษาในแต่ละข้างไม่แตกต่างกัน ประสิทธิภาพของการรักษาผื่ นผ้ าอ้อมในข้างที่ ทาขี้ผึ้งเด็กแพนทีนอลและซิงค์ออกไซด์ ในวันที่ 3 ของการรักษาเท่ากับร้อยละ 39 เปรียบเทียบกับข้างที่ทาขี้ผึ้งเบสซึ่งเท่ากับ32 ส่วนในวันที่ 7 ข้างที่ทาขี้ผึ้งเด็กแพนทีนอลและซิงค์ออกไซด์เท่ากับร้อยละ 58 ส่วนข้างที่ทาขี้ผึ้งเบสเท่ากับ 56 ผู้ ป่วยที่ยังมีผื่นอยู่เป็นผู้ป่วยที่มีการถ่ายเหลวนาน ส่วนค่า TEWL ในข้างที่ ทาขี้ผึ้งเด็กแพนทีนอลและซิงค์ออกไซด์ ในวันแรกต่ำกว่าข้างที่ทาขี้ผึ้งเบส (p = 0.18) และในวันที่ 3 ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.002) ส่วนในวันที่ 7 ของการรักษาค่า TEWL ไม่แตกต่างกัน (p = 0.07) ไม่พบผลข้างเคียงจากการทายาสรุป: ขี้ผึ้งเด็กแพนทีนอลและซิงค์ออกไซด์ลด TEWL อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในวันที่ 3 ของการรักษาภาวะผื่นผ้าอ้อมจากการถ่ายเหลว แต่เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความรุนแรงพบว่าไม่มี ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในวันที่ 1, 3 และ 7
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, October ปีที่: 89 ฉบับที่ 10 หน้า 1654-1658
คำสำคัญ
Dexpanthenol, Diarrhea, Irritant diaper dermatitis, Transepidermal water loss, Zinc oxide