การกลับมาทำงานของลำไส้เป็นปกติในสตรีตั้งครรภ์ที่เริ่มรับประทานอาหารก่อนเวลาเทียบกับการเริ่มรับประทานอาหารภายหลังการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
วลัยพรรณ สุพัฒนารังษี*, ธีรภัทร ุจุลละพราหมณ์
Department of Obstetrics and Gynecology Chonburi Hospital, 69 Ban Suan-Sukhumvit 13 Rd 20000, Thailand; Email: walaipan.sp@gmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาหาระยะเวลาที่ลำ ไส้กลับมาทำ งานเป็นปกติหลังเริ่มรับประทานอาหารรับประทานอาหารก่อน เวลาปกติหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
วัสดุและวิธีการ: การศึกษานี้เป็นวิจัยทางคลินิกแบบสุ่ม ศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์ขึ้นไป ที่คลอดบุตรโดยวิธีการผ่าตัดคลอดด้วยการใช้ยาระงับความรู้สึกทางไขสันหลังโดยมีข้อบ่งชี้ทางสูติกรรมที่โรงพยาบาลชลบุรี ในช่วงวันที่ 26 ธันวาคม 2561 ถึง 30 มิถุนายน 2562 จำนวน 140 ราย ผู้เข้าร่วมการศึกษาจะถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม 1) ให้ผู้ ป่วยเริ่มรับประทานอาหาร 6 ชั่วโมงหลังผ่าตัดคลอด 2) ให้ผู้ป่วยเริ่มรับประทานอาหาร 12 ชั่วโมงหลังผ่าตัดคลอด แต่ละกลุ่มมีจำนวน 70 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มแบบบล็อก วัตถุประสงค์หลักของวิจัยนี้คือเพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาที่เริ่มผายลม และขับถ่ายครั้งแรกของทั้งสองกลุ่ม ในขณะเดียวกันได้เก็บข้อมูลภาวะแทรกซ้อนทางระบบทางเดินอาหารหลังผ่าตัดและ ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมวิจัย
ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่าระยะเวลาที่เริ่มผายลมครั้งแรกในกลุ่มที่เริ่มรับประทานอาหารที่ 6 ชั่วโมงหลัง คิดเป็น 1485.29 ± 538.15 นาที (24.7 ± 8.9 ชั่วโมง) เร็วกว่าในกลุ่มที่รับประทานอาหารที่ 12 ชั่วโมง คิดเป็น 2411.29 ± 451.51 นาที (40.1 ± 7.5 ชั่วโมง) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้กลุ่มที่เริ่มรับประทานอาหารที่ 6 ชั่วโมง มีระยะเวลาการเริ่ม ขับถ่ายครั้งแรกคิดเป็น 2106.71 ± 582.98 นาที (35.1 ± 9.7 ชั่วโมง) เร็วกว่ากลุ่มที่เริ่มรับประทานอาหารที่ 12 ชั่วโมง คิด เป็น 3295 ± 553.89 นาที (54.9 ± 9.2 ชั่วโมง) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้พบว่าผู้เข้าร่วมวิจัยในกลุ่มที่เริ่มรับประทานอาหารเร็วมีความพึงพอใจมากกว่ากลุ่มที่เริ่มรับประทานอาหารภายหลัง แต่ในทางกลับกันกลับพบภาวะคลื่นไส้ อาเจียนได้มากกว่าเช่นกัน
สรุป: การเริ่มรับประทานอาหารที่ 6 ชั่วโมงหลังผ่าตัดคลอด สามารถช่วยให้การทำงานของลำไส้กลับมาเป็นปกติได้เร็วขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ครบกำหนดที่ได้รับการผ่าตัดคลอดด้วยการใช้ยาระงับความรู้สึกทางไขสันหลัง แต่อย่างไรก็ตามอาการ คลื่นไส้อาเจียนนั้นจะพบได้มากกว่าเช่นเดียวกัน
 
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2564, March-April ปีที่: 29 ฉบับที่ 2 หน้า 92-99
คำสำคัญ
Cesarean delivery, early oral feeding, gastrointestinal complication, การคลอดโดยวิธีผ่าตัดคลอดหน้าท้อง, การรับประทานอาหารทางปากก่อนเวลาปกติ, การทำงานของลำไส้หลังการผ่าตัด