ผลของโปรแกรมการสนับสนุนการคลอดอย่างต่อเนื่องต่อความกลัวการคลอดและผลลัพธ์ของการคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก
สุดารักษ์ ประสาร, สุพิศ ศิริอรุณรัตน์*, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ
การสนับสนุนในระยะคลอด เป็นบทบาทอิสระที่สำคัญของพยาบาลผดุงครรภ์ การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi experimental research design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนในระยะคลอดอย่างต่อเนื่องต่อ ความกลัวการคลอด และผลลัพธ์ของการคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างเป็น หญิงตั้งครรภ์ครรภ์แรกที่มา ฝากครรภ์ และมาคลอดบุตรเมื่อ อายุครรภ์ 38-40 สัปดาห์ ณ ห้องคลอด โรงพยาบาลศรีสะเกษ จำนวน 48 คน เลือกตัวอย่างตามคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยวิธี การสุ่มอย่างง่าย กลุ่มละ 24 คนเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และการคลอด และแบบมาตรวัดความกลัวการคลอดบุตร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติไคสแควร์ และ สถิติทดสอบค่าที่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของความกลัวการคลอดระยะตั้งครรภ์ลดลงมากกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t=2.447, p=,009) และกลุ่มทดลองมีการได้รับยาเร่งคลอดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ( X2=11.11, df=1, p=4,001) จากผลการศึกษาพยาบาลผดุงครรภ์ควรจัดให้มีการเตรียม ความพร้อมเพื่อการคลอด และดูแลการสนับสนุนการคลอดอย่างต่อเนื่องในระยะคลอดเพื่อลดความกลัวและการใช้ยา เร่งคลอด
 
ที่มา
วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ปี 2564, January-April ปีที่: 31 ฉบับที่ 1 หน้า 148-160
คำสำคัญ
ผู้คลอดครรภ์แรก, Primiparous women, continuous labor support, fear of childbirth, การสนับสนุนการคลอดอย่างต่อเนื่อง, ความกลัวการคลอด