การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษานิ้วล็อคด้วยการฉีดสเตียรอยด์เข้าในเยื่อหุ้มเอ็นกับนอกเยื่อหุ้มเอ็น
ิอิสรพงศ์ ดวงมี
กลุ่มศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลกำแพงเพชร
บทคัดย่อ
บทนํา : โรคนิ้วล็อค เป็นโรคทางมือที่พบบ่อยในทางออร์โธปิดิกส์ การรักษาในปัจจุบันมีหลากหลายวิธี ตั้งแต่การรับประทาน ยาแก้ปวดชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ การผ่าตัดแบบแผลเล็ก หรือการผ่าตัดแบบปกติ ในปัจจุบัน การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ ถือเป็นการรักษาหลักในการรักษาแบบไม่ผ่าตัด การรักษาด้วยการฉีดสเตียรอยด์เฉพาะที่ให้ ผลการรักษาอยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 47 ถึง ร้อยละ 87
วัตถุประสงค์ : ต้องการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษานิ้วล็อคด้วยการฉีดสเตียรอยด์เข้าในเยื่อหุ้มเอ็นกับนอกเยื่อหุ้มเอ็น
วิธีการศึกษา : ผู้ป่วย 112 ราย ที่มีอาการนิ้วล็อคทั้งหมด จำนวน 112 นิ้ว ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกําแพงเพชร ระหว่าง เดือนสิงหาคม 2562 ถึง มิถุนายน 2563 โดยสุ่มแยกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกฉีดยาเข้าเยื่อหุ้มเอ็น กลุ่มสองนอกเยื่อหุ้มเอ็น โดยผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาเสเตียรอยด์ ผลของการรักษาจะถูกประเมินที่สัปดาห์ที่ 1, 2, 4 และ 8 สัปดาห์ ตามลำดับ โดยแพทย์ใช้ทุนศัลยกรรมกระดูก
ผลการศึกษา : การหายจากอาการปวดหลังรับการรักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์ พบว่า ในกลุ่มที่รับการรักษาด้วยการฉีดยา แบบ intrasynovial technique หายจากการปวดที่สัปดาห์ที่ 1 ร้อยละ 82.1 มากกว่าแบบ extrasynovial technique ที่หายจาก อาการปวด ร้อยละ 75 แบบไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ อาการปวดหาย ร้อยละ 100 ในทั้งสองกลุ่มที่ระยะเวลา 8 สัปดาห์ การหายจากอาการนิ้วสะดุด ล็อค หลังรับการรักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์ พบว่า ในกลุ่มที่รับการรักษาด้วยการฉีดยาแบบ intrasynovial technique และ extrasynovial technique หายจากการนิ้วสะดุด ล็อค ที่สัปดาห์ที่ 1 เท่ากัน ร้อยละ 82.1 อาการ สะดุดของนิ้วหายทุกรายทั้งสองกลุ่มที่ 2 สัปดาห์หลังฉีดยา ผลสำเร็จของการรักษาไม่ต่างกันที่ 8 สัปดาห์หลังฉีดยา
สรุป : การรักษานิ้วล็อคด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์แบบเข้าในเยื่อหุ้มเอ็นกับนอกเยื่อหุ้มเอ็นให้ผลการรักษาไม่ต่างกัน
 
ที่มา
Kamphaeng Phet Hospital ปี 2564, January-June ปีที่: 25 ฉบับที่ 1 หน้า 29-36
คำสำคัญ
Trigger Finger, Steroid injection, Intrasynovial technique, โรคนิ้วล็อค, การฉีดสเตียรอยด์, การฉีดเข้าเยื่อหุ้มเอ็น