การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาของสูตรยา 10-day modified ginger quadruple therapy กับสูตร 10-day standard concomitant therapy ในการกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร
นริศ ติวะตันสกุล
กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลย้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราการกำจัดเชื้อ ระหว่างยาสูตร  10-day  modified  gingerquadruple therapy กับ 10-day standard concomitant therapy ในการกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ prospective, open-label, randomized controlled trial, single center study โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยโรงพยาบาลบ้านโป่ง ที่ได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 โดยกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยมีการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไรจำนวน 161 คน ได้รับการเข้าร่วมการศึกษาโดยแบ่งแบบสุ่มในอัตราส่วน 1:1 กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยสูตรยา 10-day modified ginger quadruple (omeprazole 20 mg b.i.d., amoxicillin 1,000 mg b.i.d., clarithromycin 500 mg b.i.d., และ ginger 1,000 mg (t.i.d.) กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยสูตรยา 10-day standard concomitant (omeprazole 20 mg b.i.d., amoxicillin 1,000 mg b.i.d.,clarithromycin 500 mg b.i.d., และ metronidazole 400 mg t.i.d.) ใช้การตรวจอุจจาระด้วยวิธี stool antigen test เพื่อประเมินการกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร จากนั้นจะเก็บรวบรวมข้อมูลความสำเร็จในการกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร ผลข้างเคียงจากการใช้ยา การกินยาได้ครบถ้วนและความสามารถในการลดอาการปวดจุกแน่นท้อง
ผลการศึกษา: ในจำนวนกลุ่มประชากร 161 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการรักษา ด้วยสูตรยา 10-day modified ginger quadruple therapy 80 คน มีการกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไรสำเร็จร้อยละ 96.3 รักษาด้วยสูตร 10-day standard concomitant 81 คน มีการกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไรสำเร็จร้อยละ 96.3 ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มกินยาได้ครบคิดเป็นร้อยละ 97.5 ผลข้างเคียงที่แตกต่างกันคือ อาการ bitter taste ในกลุ่มที่รักษาด้วยสูตรยา 10-day standard concomitant จะมีอาการ bitter taste ร้อยละ 35.8 กลุ่มที่รักษาด้วย 10-day modified ginger quadruple therapy จะมีอาการ bitter taste ร้อยละ 25 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .045) ผู้ป่วยที่รักษาด้วยสูตร 10-day standard concomitant มีอาการ nausea รุนแรง 2 คน (ร้อยละ 2.5), อาการ bitter taste รุนแรง 5 คน (ร้อยละ 6.2), และอาการ dizziness รุนแรง 3 คน (ร้อยละ 3.7) ผู้ป่วยที่รักษาด้วยสูตรยา 10-day modified ginger quadruple therapy มีอาการ fatigue รุนแรง 1 คน (ร้อยละ 1.3)ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น dyspepsia จำนวน 64 คน แบ่งเป็น 44 คน ที่ได้รับการรักษาด้วยสูตรยา 10-day modified ginger quadruple therapy และ 20 คน ได้รับการรักษาด้วยสูตรยา 10-day standard concomitant therapy ในกลุ่มที่รักษาด้วย 10-day modified ginger quadruple therapy อาการ post prandial fullness, early satiety, epigastrium paining, และ epigastrium burning ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .003, p = .001, p = .001, และ p = .017 ตามลำดับ) ในกลุ่มที่รักษาด้วยสูตรยา 10-day standard concomitant therapy อาการ postprandial fullness, และ epigastrium paining ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .039, p = .008 ตามลำดับ) กลุ่มอาการ early satiety และ epigastrium burning มีอาการดีขึ้นบ้างแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .068 และ p = .180 ตามลำดับ) แต่เมื่อเปรียบเทียบการรักษาด้วยสูตรยา 10-day modified ginger quadruple therapy และสูตรยา 10-day standard concomitant therapy ไม่พบความแตกต่างของประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วย dyspepsia ที่มีอาการ postprandial fullness, early satiety, epigastrium paining, และ epigastrium burning
สรุป: ประสิทธิภาพของการรักษาด้วยสูตรยา 10-day modified ginger quadruple therapy ในการกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไรและรักษาอาการ dyspepsia ไม่ด้อยกว่าการรักษาด้วยสูตรยา 10-day standard
 
ที่มา
วารสารแพทย์เขต 4-5 ปี 2565, October-December ปีที่: 40 ฉบับที่ 4 หน้า 497-514
คำสำคัญ
"การกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร, การรักษาสูตรยา 10-day modified ginger quadruple therapy การรักษาสูตรยา 10-day standard concomitant therapy", Helicobacter pylori eradication, 10-day modified ginger quadruple therapy, 10-day concomitant therapy