การเปรียบเทียบประสิทธิผลการใช้เครื่องควบคุมความปวดด้วยตนเองกับการระงับความรู้สึกโดยการบริหารยาทางหลอดเลือดดำในการสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงกระแทกในผู้ป่วยนิ่วในไตและท่อไตส่วนบน
พฤทธิ์ ธนะแพสย์
ศัลยกรรมระบบปัสสาวะ กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
บทคัดย่อ
บทนำ : การรักษานิ่วด้วยวิธีการสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงกระแทก (ESWL) ได้ถูกนำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคนิ่วอย่างแพร่หลาย ปัจจัยความสำคัญในการรักษาด้วยวิธีนี้สิ่งหนึ่งที่ถูกพูดถึงคือ พลังงานที่ใช้ในการสลายนิ่ว กล่าวคือยิ่งใช้พลังงานในการสลายนิ่วที่สูงโอกาสความสำเร็จในการสลายนิ้วแตกจะมากขึ้นตาม เมื่อพลังงานที่ สลายนิ่วสูงขึ้นส่งผลให้เกิดความปวดที่สูงตาม มาในระหว่างทำหัตถการ ดังนั้นหากผู้ป่วยมีสิ่งช่วยลดอาการปวด จะส่งเสริมทำให้การสามารถใช้พลังงานสลายนิ่วสูงขึ้นและมีโอกาสประสบความสำเร็จในการรักษานิ่วมากขึ้น
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบพลังงานที่ใช้ของการสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงกระแทก เมื่อใช้เครื่องควบคุม ความปวดด้วยตนเอง ( PCA) กับการระงับความรู้สึกโดยการบริหารยาทางหลอดเลือดดำ (TIVA) ในการรักษาผู้ป่วย นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ (ไตและท่อไตส่วนบน)
วัสดุและวิธีการศึกษา : การศึกษาวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเปรียบเทียบ โดยรวบข้อมูลในช่วงเดือนสิงหาคม ถึง พฤศจิกายน 2563 ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงกระแทกในโรงพยาบาล ร้อยเอ็ด จำนวน 90 คน ซึ่งผู้ป่วยจะถูกแบ่งเป็นสองกลุ่มที่เท่ากัน กลุ่มที่หนึ่งกลุ่มควบคุมได้รับการระงับความรู้สึก โดยการบริหารยาทางหลอดเลือดดำ กลุ่มที่สองกลุ่มทดลองได้รับการระงับความรู้สึกด้วย
เครื่องควบคุมความปวด ด้วยตนเอง เพื่อดูตำแหน่งและจำนวนของนิ่วที่สลาย ระดับพลังงานที่ในการสลายนิ่ว การวัดสัญญาณชีพ ระดับ คะแนนปวด(Visual analog scale) ผลข้างเคียงระหว่างการรักษา และความพึงพอใจของการรักษา สถิติที่ใช้ในงาน วิจัย ได้แก่ สถิติ Independent t-test หรือ Mann-Whitney U test สำหรับเปรียบเทียบคะแนนปวดหลังการ รักษา, พลังงาน, ระยะเวลาที่ผู้ป่วยได้รับการยิงสลายนิ่วระหว่างกลุ่ม โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา : พบว่าผู้ป่วยกลุ่มควบคุม 45 คน กลุ่มทดลอง 45 คน มีลักษณะกลุ่มประชากร เพศ ดัชนี มวลกาย โรคประจำตัว ประวัติสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงกระแทก ตำแหน่งและจำนวนของนิ้วที่สลายมีความคล้ายคลึง กันทั้งสองกลุ่ม พลังงานเฉลี่ยที่ใช้ในการสลายนิ่วกลุ่มทดลอง 2.18 (+ 0.08) มิลลิจูล สูงกว่ากลุ่มควบคุม 2.15 (+ 0.08) มิลลิจูล (P<0.019) พลังงานรวมที่ใช้ทั้งหมดกลุ่มทดลอง 126.17 (+ 3.78) จูล สูงกว่ากลุ่มควบคุม 124.46 (+ 3.32) จูล (P<0.025) ระยะเวลาที่ใช้ในการทำหัตถการกลุ่มทดลองใช้ 36.4 (+ 1.8)นาที น้อยกว่า กลุ่มควบคุม 42.7 (+ 2.1) นาที (P<0.001) ค่ามัธยฐานที่ใช้ในการรักษากลุ่มทดลองใช้ 105 ไมโครกรัมมากกว่า กลุ่มควบคุมใช้ 60 ไมโครกรัม (P<0.001) โดยสัญญาณชีพก่อนและหลังการรักษา ผลข้างเคียงระหว่างการรักษา และระดับคะแนนความปวดช่วงต่างในการสลายนิ่วพบว่าทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน แต่ความพึงพอใจของ การรักษาพบว่ากลุ่มทดลองได้คะแนน10/10มากกว่ากลุ่มควบคุม 8/10 (P<0.001)
สรุป : ประสิทธิผลการสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทกในกลุ่มได้รับการระงับความรู้สึกด้วยเครื่องควบคุมความปวด ด้วยตนเอง มีพลังงานงานเฉลี่ย พลังงานรวมที่ใช้ทั้งหมด ความพึงพอใจในการรักษา ที่มากกว่ากลุ่มได้รับการระงับ ความรู้สึกโดยการบริหารยาทางหลอดเลือดดำและระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาที่สั้นกว่ากลุ่มควบคุม โดยที่ระดับ ความปวดและผลข้างเคียงในระหว่างการรักษาไม่แตกต่างกันในทางสถิติ
 
ที่มา
ร้อยเอ็ดเวชสาร ปี 2564, January-June ปีที่: 8 ฉบับที่ 1 หน้า 11-23
คำสำคัญ
Renal and Upper ureter stone, Patient-Controlled analgesia (PCA), Extracorporeal Shockwave lithotripsy (ESWL), Total Intravenous Anesthesia (TIVA), นิ่วในไตและท่อไต, สลายนิ่่วด้วยคลื่นเสียงกระแทก, เครื่องควบคุุมความปวดด้วยตนเอง, การระงับความรู้สึกโดยการบริหารยาทางหลอดเลือดำ