ผลของการใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าเปรียบเทียบกับการให้นมบุตรปกติต่อระยะเวลาที่เริ่มหลั่งนํ้านมเต็มเต้าในสตรีหลังผ่าตัดคลอด: การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม
สิริกัลยา เมืองบาล*, รุ่งฤดี จีระทรัพย์, ทุมวดี ตั้งศิริวัฒนา
Department of Obstetrics and Gynecology, Khon Kaen Hospital, Khon Kaen 40000, Thailand; E-mail: Siriganlaya37@gmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ผลของการใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าเปรียบเทียบกับการให้นมบุตรปกติต่อระยะเวลาที่เริ่มหลั่งนํ้านมเต็มเต้าในสตรีหลังผ่าตัดคลอด: การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม
วัสดุและวิธีการ: สตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดโดยการระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง 34 ราย ได้รับการสุ่มเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า (การให้นมบุตรปกติร่วมกับการใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า) และกลุ่มที่ให้นมบุตรปกติกลุ่มที่ใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าจะได้เริ่มใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าปั๊มเต้านมภายใน 3 ชั่วโมง หลังผ่าตัดคลอดปั๊มนาน 15 นาทีต่อครั้ง ทุก 3 ชั่วโมง หลังจากให้นมบุตร จนมีอาการหรืออาการแสดงของการเริ่มหลั่งของนํ้านมเต็มเต้ากลุ่มให้นมบุตรปกติให้นมบุตรอย่างน้อย 8 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง สตรีหลังผ่าตัดคลอดทั้ง 2 กลุ่ม บันทึกเวลาเมื่อมีอาการและอาการแสดงอย่างใดอย่างหนึ่งของการเริ่มหลั่งของนํ้านมเต็มเต้าโดยการรับรู้ของมารดาได้แก่ เต้านมคัดตึงเสียวแปลบที่บริเวณเต้านมและมีนํ้านมไหลหยด
ผลการศึกษา: กลุ่มที่ใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าพบว่ามีระยะเวลาการเริ่มหลั่งของนํ้านมเต็มเต้าเร็วกว่ากลุ่มที่ให้นมบุตรปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (43.8 ± 11.0 ชั่วโมง และ 68.3 ± 19.9 ชั่วโมง, p < 0.001) ระดับความเจ็บที่หัวนม (p = 0.74) และระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล (p = 0.88) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: สตรีหลังผ่าตัดคลอดในกลุ่มที่ใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้ามีระยะเวลาการเริ่มหลั่งของนํ้านมเต็มเต้าเร็วกว่ากลุ่มที่ให้นมบุตรปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
 
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2565, March-April ปีที่: 30 ฉบับที่ 2 หน้า 100-108
คำสำคัญ
onset of lactation, electric breast pump, conventional breastfeeding, เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า, การให้นมบุตรปกติ, ระยะเวลาที่เริ่มหลั่งนํ้านมเต็มเต้า