การคำนวณความลึกของสายสายสวนหลอดเลือดสะดือในทารกแรกเกิดด้วยวิธีปรับเปลี่ยนใหม่ (Revised method) เปรียบเทียบกับวิธีของ Shukla และ Ferrara
ปุญยาพร สืบนุช, ประภาวรรณ เมธาเกษร*
โรงพยาบาลนครพิงค์
บทคัดย่อ
 วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอัตราการใส่สายสวนหลอดเลือดดาของสะดือในตำแหน่งที่เหมาะสม จากการประมาณความลึกสายสวนหลอดเลือดดาของสะดือด้วยวิธีปรับเปลี่ยนใหม่(revised method) เปรียบเทียบกับวิธีของ Shukla และ Ferrara
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบ randomized controlled study ในผู้ป่วยทารกแรกเกิด หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้รับการใส่สายสวนหลอดเลือดดาของสะดือตามข้อบ่งชี้ เพื่อเปรียบเทียบอัตราการใส่ สายสวนหลอดเลือดดาของสายสะดือในตำแหน่งที่เหมาะสมระหว่างการคานวณความลึกสายสวน หลอดเลือดดาของสะดือ ด้วยวิธีปรับเปลี่ยนใหม่ (revised method) เปรียบเทียบกับวิธีของ Shukla และ Ferrara โดยวัดตำแหน่งปลายสายสวน ที่เหมาะสมอยู่ระหว่างขอบบนของกระดูกสันหลังส่วนอกระดับที่ 9 และตำแหน่งขอบล่าง ของกระดูกสันหลังส่วนอกระดับที่ 10 จากภาพถ่ายรังสีทรวงอกและท้องในแนวหน้าหลัง
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทารกแรกเกิดจานวน 182 คน ที่เข้าเกณฑ์การรับเข้าศึกษาในงานวิจัย ได้รับการสุ่มคัดเลือกวิธี ในการใส่สายสวนหลอดเลือดดาของสะดือ โดยแบ่งเป็นกลุ่มวิธีปรับเปลี่ยนใหม่ (revised method) 92 คน และกลุ่มวิธีของ Shukla และ Ferrara 90 คน ซึ่งทั้งสองกลุ่มมีลักษณะข้อมูลพื้นฐานไม่แตกต่างกัน จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มวิธีปรับเปลี่ยนใหม่(revised method) มีจานวนทารกแรกเกิดที่ตำแหน่งสายสวนหลอดเลือดดาของสะดือ อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมจานวน 29 คน (ร้อยละ 31.52) มากกว่ากลุ่มวิธีของ Shukla และ Ferrara ซึ่งมีจานวน 16 คน (ร้อยละ 17.78) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.039) ในการศึกษานี้ พบภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ตำแหน่งสายสวนหลอดเลือดดาของสะดืออยู่ในเส้นเลือดดาใหญ่ในตับ ในกลุ่มวิธีปรับเปลี่ยนใหม่จานวน 17 คน (ร้อยละ 18.48) และวิธีของ Shukla และ Ferrara 18 คน (ร้อยละ 20)
สรุปผลการศึกษา: การประมาณความลึกสายสวนหลอดเลือดดาของสะดือด้วยวิธีปรับเปลี่ยนใหม่ (revised method) ในทารกแรกเกิด มีอัตราการใส่สายสวนหลอดเลือดดาของสะดือได้ในตาแหน่งที่เหมาะสมมากกว่าวิธีของ Shukla และ Ferrara
 
ที่มา
Journal of Nakornping Hospital ปี 2565, January-June ปีที่: 13 ฉบับที่ 1 หน้า 70-82
คำสำคัญ
newborn, umbilical venous catheter, umbilical venous catheter position, Shukla and Ferrara method