การเปรียบเทียบผลการรักษากระดูกเท้าหักในระยะต้นด้วยวิธการผ่าตัดแบบเปิดแผลมาตรฐานกับวิธีการส่องกล้อง
อดิกันต์ ว่องวานิชวัฒนะ
กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี
บทคัดย่อ
กระดูกส้นเท้าหักแม้จะพบได้ไม่มากนักแต่มีความสำคัญมากเพราะหากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ไม่เหมาะสมหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจส่งผลถึงการใช้งานภายหลังการรักษาหรืออาจรุนแรงจนทำให้เกิดความพิการได้ การผ่าตัดเป็นการรักษากระดูกส้นเท้าวิธีหนึ่งเพื่อจัดเรียงผิวข้อใต้ข้อเท้า (subtalar joint) และจัดรูปกระดูกส้นเท้าให้ใกล้เคียงสภาวะปกติที่สุด แต่ในอดีตการรักษาด้วยการผ่าตัดนั้นทำโดยการผ่าเปิดแผลใหญ่ทางด้านข้าง (lateral extensile approach) เป็นวิธีมาตรฐาน ซึ่งวิธีนี้ทำให้สามารถจัดเรียงผิวข้อได้ง่าย แต่สิ่งที่ตามมาคือเกิดภาวะแทรกซ้อนของเนื้อเยื่อบริเวณผ่าตัดค่อนข้างมาก ในปัจจุบันได้้มีีการพัฒนาเรื่องของการผ่าตัดเรีียงผิวข้อผ่านการส่องกล้อง (arthroscopic assisted reduction and percutaneous screw fixation) ซึ่งพบว่ามีีภาวะแทรกซ้อนลดลง ทางผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของทั้ง 2 วิธีนี้
วัตถุุประสงค์์: เพื่อเปรียบเทียบผลของการรักษากระดูกส้นเท้าหักระหว่างวิธีผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่กับการผ่าตัดโดยการส่องกล้อง
วิธีทำการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 21 คน กระดูกส้นเท้าหักจำนวน 23 ข้าง (กระดูกส้นเท้าหัก Sanders type II 10 ข้าง และ Sanders type III 13 ข้าง) ที่ได้รับการผ่าตัด แบ่งกลุ่ม อย่างสุ่มด้วยการผ่าตัดทั้ง 2 วิธี เป็นการผ่าตัดแบบเปิดแผลมาตรฐาน 12 ข้างและผ่าตัดแบบส่องกล้อง 11 ข้าง แล้วทำการแปลผล
ผลการศึกษา: จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า การผ่าตัดรักษากระดูกส้นเท้าหักโดยการผ่าตัดแผลเล็กผ่านกล้องนั้นผู้ป่วยมีความเจ็บปวดจากการผ่าตัดที่น้อยกว่า และมี AOFAS score ทีดีกว่าวิธีผ่าเปิดแบบมาตรฐานในระยะสั้น (ภายใน 24 สัปดาห์) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) และจากงานวิจัยนี้พบว่าไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญจากการผ่าตัด อย่างไรก็ตามการประเมิน SF-36 นั้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปผลการศึกษา: งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการผ่าตัดแผลเล็กผ่านกล้องนั้น มีประโยชน์ในการลดความเจ็บ
ปวดหลังการผ่าตัดที่ดีกว่า ภาวะแทรกซ้อนที่น้อยกว่า AOFAS score ที่ดีกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลมาตรฐานในช่วงแรกของการผ่าตัด แต่อย่างไรก็ตามการผ่าตัดลักษณะนี้้ ก็มีความจำเป็นต้องสำรอง การผ่าตัดแบบเปิดแผลมาตรฐานไว้ เนื่องจากมีโอกาสที่การเรียงผิวข้อผ่านการส่องกล้องจะไม่ประสบความสำเร็จได้
 
ที่มา
วารสารแพทย์เขต 4-5 ปี 2566, January-March ปีที่: 42 ฉบับที่ 1 หน้า 121-135
คำสำคัญ
calcaneus fracture, surgical treatment in calcaneus fracture, arthroscopic assisted reduction and percutaneous screw fixation of calcaneus, กระดูกส้นเท้าหัก, การผ่าตัดกระดูกส้นเท้า, การผ่าตัดกระดูกส้นเท้าแบบส่องกล้อง