ประสิทธิผลของการฉีดไดโคลฟีแนกก่อนการผ่าตัดในการช่วยลดปวดภายหลังการผ่าตัดยึดกระดูกหักด้วยเหล็กดาม
ประพันธ์ จันทนะโพธิ
กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของยาไดโคลฟีแนกที่ฉีดก่อนการผ่าตัดในการช่วยลดอาการปวดในวันแรกหลังการผ่าตัดดามกระดูกหักด้วยเหล็กดามวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มศึกษากับกลุ่มเปรียบเทียบโดยได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมเพื่อการวิจัยในมนุษย์ของโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ระยะเวลาที ่ศึกษาตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ทั้งกลุ่มศึกษากับกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการอธิบายจนเข้าใจและลงนามในใบยินยอมรับการศึกษา เก็บข้อมูลไปข้างหน้า ศึกษาในผู้ป่วยที่กระดูกหัก 68 รายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีสุ่มแบบบล็อก (กลุ่มศึกษา 33 ราย, กลุ่มเปรียบเทียบ 35 ราย) เฉพาะกลุ่มศึกษาได้รับการฉีดไดโคลฟีแนก 75 มก. ก่อนผ่าตัด ส่วนหลังผ่าตัดทั้งสองกลุ่มได้รับยาดังกล่าวอีกทันทีและอีกครั้งที่ 12 ชั่วโมงถัดไปและได้รับการฉีดเพธิดีนเมื่อมีอาการปวด ประเมินระดับของการปวดที่ 8, 16, 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดโดยใช้ สเกลวัดระดับความเจ็บปวดวิเคราะห์ข้อมูลแล้วประมวลผลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป กำหนดระดับนัยสำคัญเท่ากับ 0.05ผลการศึกษา: ในกลุ่มศึกษามีระดับของการปวดน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบที่ 8 และ16 ชั่วโมงอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.009 และ p=0.018 ตามลำดับ) และสามารถลดการใช้เพธิดีนด้อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.022) โดยไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดไดโคลฟีแนกก่อนผ่าตัด ระยะเวลาในการฉีดก่อนการผ่าตัดเฉลี่ยเท่ากับ 6 ชั่วโมงสรุป: การฉีดไดโคลฟีแนกก่อนการผ่าตัดมีประสิทธิผลในการลดการปวดในวันแรกหลังการผ่าตัดดามกระดูกหัก
ที่มา
พุทธชินราชเวชสาร ปี 2547, May-August ปีที่: 21 ฉบับที่ 2 หน้า 193-202
คำสำคัญ
postoperative pain, Diclofenac, fracture, Visual analog score, กระดูกหัก, สเกลวัดระดับความเจ็บปวด, อาการปวดหลังการผ่าตัด, ไดโคลฟีแนก