ผลของยาฉีดพ่น 0.3% เบนไซดามีน ไฮโดรคลอไรด์ และยาฉีดพ่น 10% ไลโดเคน บนท่อหายใจต่ออาการเจ็บคอหลังการระงับความรู้สึกด้วยการใส่ท่อหายใจ: การศึกษาไปข้างหน้าแบบสุ่มที่มีตัวควบคุม
กรกนก ยุวพัฒนวงศ์*, วนัชพร สุจริตธรรม, ปิยศักดิ์ วิทยาบูรณานนท์
ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กรุงเทพมหานคร 10300
บทคัดย่อ
 บทนำ: อาการเจ็บคอหลังการถอดท่อหายใจเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ซึ่งส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วย วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาผลของยาฉีดพ่น 0.3% เบนไซดามีน ไฮโดรคลอไรด์ และยาฉีดพ่น 10% ไลโดเคน ต่ออาการเจ็บคอใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด และอุบัติการณ์อาการเสียงแหบ ไอ กลืนลำบาก และคลื่นไส้อาเจียน
วิธีกรศึกษา: ศึกษาไปข้างหน้าแบบสุ่มที่มีตัวควบคุมในผู้ป่วยจำนวน 165 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มยาฉีดพ่น 0.3% เบนไซดามีน ไฮโดรคลอไรด์ กลุ่มยาฉีดพ่น 10% ไลโดเคน และกลุ่มสารละลายนอร์มัล ติดตามอาการเจ็บคอ เสียงแหบ ไอ กลืนลำบาก และคลื่นไส้อาเจียน ที่เวลา 1, 6, 12 และ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
ผลกรศึกษา: ยาฉีดพ่น 0.3% เบนไซดามีน ไฮโดรคลอไรด์ และยาฉีดพ่น 10% ไลโดเคน ช่วยลดอาการเจ็บคอหลังถอดท่อหายใจในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติระหว่างกลุ่ม พบอาการไอในกลุ่มยาฉีดพ่น 10% ไลโดเคนที่ชั่วโมงที่ 1 (P=0.019) และพบอาการคลื่นไส้อาเจียนในกลุ่มยาฉีดพ่น 0.3% เบนไซดามีน ไฮโดรคลอไรด์ ที่ชั่วโมงที่ 6 หลังการถอด ท่อหายใจ (P=0.015)
สรุป: ยาฉีดพ่น 0.3% เบนไซดามีน ไฮโดรคลอไรด์ ยาฉีด พ่น 10% ไลโดเคน และสารละลายนอร์มัล สามารถ ลดอาการเจ็บคอใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดหลังถอด ท่อหายใจ อย่างไรก็ตามยาฉีดพ่น 0.3% เบนไซดามีน ไฮโดรคลอไรด์ และยาฉีดพ่น 10% ไลโดเคน ไม่สามารถ ป้องกันอาการเสียงแหบและกลืนลำบากหลังถอดท่อ หายใจ
 
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2566, July-August ปีที่: 94 ฉบับที่ 4 หน้า 259-270
คำสำคัญ
postoperative sore throat, Benzydamine hydrochloride, lidocaine spray, เบนไซดามีน ไฮโดรครลอไรด์, ยาฉีดพ่นไลโดเคน, อาการเจ็บคอหลังการระงับความรู้สึก