ต้นทุน-ประสิทธิผลของ คลอเฮ็กซิดีน กลูโคเนทเปรียบเทียบกับโพวิโดน ไอโอดีน สำหรับทำลายเชื้อที่ผิวหนังบริเวณที่ใส่สายสวนหลอดเลือดที่โรงพยาบาลศิริราช
ณธร ชัยญาคุณาพฤกษ์*, ราตรี แมนไธสง, วิษณุ ธรรมลิขิตกุล
Pharmacy Practice Research Unit, Department of Pharmacy Practice, Naresuan University, Phitsanulok 65000, Thailand. Phone: 055-261-000 ext 3621 #130, Fax: 055-261-057, E-mail: nui@u.washington.edu
บทคัดย่อ
ผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายสวนในหลอดเลือดเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด น้ำยาทำลายเชื้อที่ผิวหนังบริเวณที่ใส่สายสวนหลอดเลือดของผู้ป่วยไทยที่ใช้กันทั่วไปคือ โพวิโดน ไอโอดีน มีหลักฐานจากการวิจัยในต่างประเทศที่แสดงว่า คลอเฮ็กซิดีน กลูโคเนท ลดโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือดได้มากกว่าโพวิโดน ไอโอดีนและคุ้มค่ากว่า การศึกษานี้จึงต้องการทราบต้นทุน-ประสิทธิผลของ คลอเฮ็กซิดีน กลูโคเนท เปรียบเทียบกับโพวิโดน ไอโอดีน สำหรับทำลายเชื้อที่ผิวหนังบริเวณที่ใส่สายสวนหลอดเลือดที่โรงพยาบาลศิริราช โดยอาศัยข้อมูลจากโรงพยาบาลศิริราชและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูลต่างๆ ในประเทศไทยและต่างประเทศในกรณีที่ไม่มีข้อมูลในประเทศไทย ซึ่งพบว่าคลอเฮ็กซิดีน กลูโคเนท มีต้นทุน-ประสิทธิผลดีกว่าโพวิโดน ไอโอดีนทั้งการคาสายสวนหลอดเลือดส่วนกลางและสายสวนหลอดเลือดส่วนปลาย ดั้งนั้นจึงควรใช้คลอเฮ็กซิดีน กลูโคเนทสำหรับทำลายเชื้อที่ผิวหนังบริเวณที่ใส่สายสวนหลอดเลือดแทนโพวิโดน ไอโอดีน 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, May ปีที่: 89 ฉบับที่ 0 หน้า S94-101
คำสำคัญ
Catheter-related bloodstream infections, Chlorhexidine gluconate, cost effectiveness, Povidone-iodine