ปัจจัยในการทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งที่มารับการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก ศูนย์การแพทย์ผสมผสาน โรงพยาบาลบางปะกอก 1
ลัดดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์, สถาพร ภู่สีสุวรรณ*, เพียงใจ สัตยุตม์
Christian University
บทคัดย่อ
โรคมะเร็งจัดเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมากการรักษาโดยการแพทยแผนปัจจุบันเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ควรใช้การแพทย์ทางเลือกวิธีอื่น ๆ ร่วมในการรักษาด้วยเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและอํานาจการทํานายของ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน การรับรูความรุนแรงของโรคต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งที่มารับการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก กลุ่มตัวอย่างได้แก ผูป่วยมะเร็งที่มารับการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก ศูนย์การแพทย์ผสมผสานโรงพยาบาลบางปะกอก 1 จํานวน 110 คน โดยเก็บข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบสัมภาษณ์คุณภาพชีวิต ซึ่งผู้วิจัยดัดแปลงข้อคําถามที่ใช้ประเมินคุณภาพชีวิตของสายฝน จับใจ ตามกรอบแนวคิดคุณภาพชีวิตของซาน (Zhan) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอรโดยวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณา (ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ทดสอบค่าที ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ทดสอบค่าเอฟ ค่าความสัมพันธ Eta ที่ระดับความเชื่อมั่น .05 และวิเคราะหการถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอนเพื่อหาอํานาจการทํานายของปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งที่มารับการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก ศูนย์การแพทย์ผสมผสาน โรงพยาบาลบางปะกอก 1 ผลการวิจัยพบว่าคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งที่มารักษาแบบแพทย์ทางเลือก  ศูนย์การแพทย์ผสมผสานโรงพยาบาลบางปะกอก 1 อยูในระดับดี นอกจากนี้พบว่า การรับรูความรุนแรงของโรค และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสามารถร่วมทํานายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งที่มารับการรักษาแบบแพทย์ทางเลือกศูนย์ การแพทย์ ผสมผสาน โรงพยาบาลบางปะกอก 1 ได้ร้อยละ 53.8 ที่ระดับนัย สําคัญทางสถิติ .01
ที่มา
วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน ปี 2548, May-August ปีที่: 11 ฉบับที่ 2 หน้า 119-127