คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด
พนิตนาฏ ชำนาญเสือ*, สมจิตต์ สินธุชัย, สิรินาถ ธรรมวิญญา
Boromarajjonani College of Nuring, Saraburi
บทคัดย่อ
                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด อายุ 20 ปีขึ้นไป มีประสบการณ์การได้รับเคมีบำบัดมาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง อยู่ระหว่างการรักษาและมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก งานบริการพยาบาลเคมีบำบัดโรงพยาบาลสระบุรี กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบบังเอิญ (Accidental sampling) จำนวน 60 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ไม่ได้แยกชนิดของมะเร็ง วิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และเปรียบเทียบความแตกต่าง Man-Whitney U ผลการวิจัย พบว่า1. คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวม มีคุณภาพชีวิตสูง จำแนกคุณภาพชีวิตตามรายด้าน 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านสังคม/ ครอบครัว ด้านอารมณ์ จิตใจ และด้านปฏิบัติกิจกรรม พบว่าอยู่ในระดับสูง2. ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดที่มีความแตกต่างของระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส มีคุณภาพชีวิตโดยรวม และรายด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านสังคม/ ครอบครัว และด้านอารมณ์ จิตใจและด้านปฏิบัติกรรม ไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดที่มีความแตกต่างของรายได้ พบว่าคุณภาพชีวิตโดยรวม และรายด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านสังคม/ ครอบครัว ด้านอารมณ์ จิตใจไม่แตกต่างกัน ส่วนคุณภาพชีวิตด้านปฏิบัติกิจกรรม แตกต่างกันข้อเสนอแนะ  ด้านปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด ควรมีการประเมินระดับคุณภาพชีวิตเป็นระยะๆ ของการรับเคมีบำบัด และพัฒนาคุณภาพบริการการพยาบาลระบบผู้ป่วยนอก ที่มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมที่รักษาระดับคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้ครอบคลุม กาย จิต สังคม และเน้นรายบุคคลให้สอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วย
ที่มา
วารสารโรงพยาบาลสระบุรี ปี 2550, September-December ปีที่: 32 ฉบับที่ 3 หน้า 229-236
คำสำคัญ
Quality of life, chemotherapy, คุณภาพชีวิต, Cancer patients, ผู้ป่วยมะเร็ง, เคมีบำบัด