ประสิทธิภาพของการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีเข้าชั้นผิวหนังและการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่อไตเทียม
ทวี ชาญชัยรุจิรา*, ทวีศักดิ์ แทนวันดี, นฤมล จันทาภากุล, ลีนา องอาจยุทธ
Renal Division, Department of Medicine, Siriraj Hospital, Bangkok 10700, Thailand.
บทคัดย่อ
ที่มา: การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบียังเป็นปัญหาสำคัญในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือด ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีการตอบสนองทางภูมิ คุ้มกันภายหลังการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี เข้าชั้นกล้ามเนื้อเพียงร้อยละ 50-60 การฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังในขนาดต่ำเคยมีรายงานว่ามีประสิทธิภาพดี ประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้เวลาในการตอบสนองน้อยกว่าการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการฉีดวัคซีนและระยะเวลาของการตอบสนองภูมิคุ้มกันระหว่างการฉีดเข้าชั้นผิวหนังและชั้นกล้ามเนื้อในผู้ป่วยไตวายที่ได้รับการฟอกเลือดวัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดจำนวน 51 ราย ถูกแบ่งโดยการสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (25 ราย) ได้รับการฉีดวัคซีน (recombinant hepatitis B vaccine; Engerix Bâ) เข้าชั้นผิวหนังในขนาด 10 ไมโครกรัมทุก 2 สัปดาห์จนครบ 7 ครั้ง กลุ่มที่ 2 (26 ราย) ได้รับการฉีดวัคซีน 40 ไมโครกรัมเข้าชั้นกล้ามเนื้อในเดือนที่ 0, 1, 2 และ 6 ผู้ป่วยทุกรายได้รับการตรวจระดับภูมิคุ้มกันในเดือนที่ 2, 3, 4 และ 7 หลังฉีดวัคซีนเข็มแรก เปรียบเทียบระดับภูมิคุ้มกันของ ผู้ป่วย 2 กลุ่ม โดยแบ่งระดับการตอบสนองออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกตอบสนองดีเยี่ยม (anti-HBs Ab > 1000 IU/L) กลุ่มที่สองตอบสนองดี (10-999 IU/L) และกลุ่มที่สาม ไม่ตอบสนอง (< 10 IU/L)ผลการศึกษา: ระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบีที่ป้องกันโรคได้ (anti-HBs Ab > 10 IU/L) ในเดือนที่ 2, 3, 4 และ 7 ของกลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข้ าชั้นผิวหนังเท่ากับร้อยละ 56, 76, 88 และ 92 เทียบกับ กลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข้าชั้นกล้ามเนื้อเท่ากับร้อยละ 31, 42, 65 และ 69 ตามลำดับ การตอบสนองทางภูมิคุมกันนี้ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นในเดือนที่ 3 ซึ่งในกลุ่ มที่ได้วัคซีนเข้าชั้นผิวหนังมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันดีกว่าชัดเจน (76% vs 42%, p = 0.03) เมื่อสิ้นสุดการศึกษาที่เดือนที่ 7 พบว่า ในกลุ่มได้วัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง ระดับของภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยที ่มีการตอบสนองดี และดีเยี่ยม เท่ากับร้อยละ 72 (18/25), 20 (5/25) ตามลำดับ เทียบกับ u3619 .้อยละ 34.5 (9/26), 34.5 (9/26) ในกลุ่มที่ได้วัคซีนเข้าชั้นกล้ามเนื้อ โดยไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p > 0.05) ไม่ พบผลข้างเคียงร้ายแรงใด ๆ หลังฉีดวัคซีนในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มสรุป: การฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือด โดยใช้ฉีดวัคซีนขนาด 10 ไมโครกรัม รวม 7 ครั้งพบว่า ได้ผลการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ดี โดยได้ผลไม่แตกต่างกับการให้วัคซีนเข้าทางกล้ามเนื้อ แต่การให้วัคซีนเข้าชั้นผิวหนังใช้ เวลาสั้นกว่าในการทำให้ถึงระดับภูมิคุ้มกันที่ป้องกันโรคได้ เมื่อเทียบกับการฉีดวัคซีนเข้าชั้นกล้ามเนื้อ แม้ว่าการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันไม่แตกต่างกันแต่การฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังใช้ปริมาณวัคซีนน้อยกว่าดังนั้นการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีเข้าชั้นผิวหนังอาจเป็นทางเลือกหนึ่งในแง่ประสิทธิภาพ สามารถลดค่าใช้จ่ายและมีผลข้างเคียงต่ำ
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, February ปีที่: 89 ฉบับที่ 0 หน้า S33-40
คำสำคัญ
Hemodialysis, Immune response, Intradermal Hepatitis B Vaccination