การยึดติดแน่นทางคลินิกของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดสีขาวขุ่นที่ผลิตในประเทศ: การติดตามผล 12 เดือน
ธนกร สอวิเศษ, สุภาภรณ์ จงวิศาล, แพรวพัชร ปัจฉิมสวัสดิ์*
Department of Hospital Dentistry, Faculty of Dentistry, Mahidol University, 6 Yothi Street, Rachathewi, Bangkok 10400. Tel: 02-6448660 ext. 1521-3. Fax: 02-6448656
บทคัดย่อ
                การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการยึดติดแน่นทางคลินิกของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดสีขาวที่ผลิตในประเทศไทยบ คือ เอ็มเทค-ทินท์ โดยเปรียบเทียบกับวัสดุนำเข้าจากต่างประเทศ คือ คอนไซส์ ทำการศึกษาในฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งจำนวน 84 คู่ฟัน ในเด็กนักเรียนอายุ 6-9 ปี เคลือบหลุมร่องฟันโดยทันตแพทย์สองคน สุ่มให้ฟันข้างหนึ่งเคลือบด้วยเอ็มเทค-ทินท์ ส่วนฟันอีกข้างเคลือบด้วย คอนไซส์ ติดตามผลการยึดติดแน่นของวัสดุที่ระยะเวลา 6 และ 12 เดือน ประเมินการยึดติดแน่นเป็น 3 ลักษณะ คือ การยึดติดแน่นทั้งหมด การหลุดบางส่วน และการหลุดทั้งหมด เปรียบเทียบการยึดติดแน่นระหว่างวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันสองชนิด ด้วยการทดสอบเชิงเครื่องหมายและลำดับที่แบบวิลคอกซัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการศึกษาพบว่า การยึดติดแน่นทางคลินิกของเอ็มเทค-ทินท์ น้อยกว่าคอนไซส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งการยึดติดแน่นทุกด้าน (p=.021 และ .003 ที่ระยะเวลา 6 และ 12  เดือน ตามลำดับ) และการยึดติดแน่นด้านบดเคี้ยว (p=.014  และ .002 ที่ระยะเวลา 6 และ 12 เดือนตามลำดับ)
ที่มา
วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ ปี 2549, July-August ปีที่: 56 ฉบับที่ 4 หน้า 252-260
คำสำคัญ
Retention, Clinical study, Local-made sealant