คุณภาพชีวิตของนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพสายตา เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
ชุติมา อัตถากรโกวิท
ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพสายตาและคุณภาพชีวิต เด็กวัยเรียนแต่ละระดับการศึกษาคือ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียน เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการสุ่มตัวอย่างโดยวิธี Multiple cluster sampling ได้โรงเรียน 2 โรงเรียน ดำเนินการวัดสายตานักเรียนทั้งหมด 2,934 คน โดย E chart พบมีสายตาผิดปกติ 832 คน แล้วสุ่มตัวอย่างนักเรียนสายตาผิดปกติจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระดับละ 31คน ได้จำนวนตัวอย่าง 248 คน ให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะประชากร พฤติกรรมด้านการดูแลสุขภาพสายตา และคุณภาพชีวิต ผลการวิเคราะห์พบว่า มีปัญหาสุขภาพสายตา (refractive error) ร้อยละ 28.36 ปัญหาสุขภาพสายตาและคุณภาพชีวิตของเด็กนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพสายตา มีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษาคือ ความรุนแรงของปัญหาสายตาเพิ่มขึ้นตามระดับการศึกษาที่เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.188, p = 0.003) และนักเรียนที่มีการศึกษาเพิ่มขึ้น จะมีคุณภาพชีวิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.144, p = 0.05)
ที่มา
วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา ปี 2549, January-April ปีที่: 4 ฉบับที่ 1 หน้า 45-52
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Eyesight problems in students, Primary and secondary school, นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพสายตา, ระดับประถมศึกษาตอนปลายถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย