เปรียบเทียบผลของการถอดท่อหายใจขณะสลบลึก (Deep Anesthesia Extubation) กับการฉีด Lidocaine เข้าทางหลอดเลือดดำในด้านการไอหลังสิ้นสุดการให้ยาระงับความรู้สึก
จิรารัตน์ ทองก๊วย, นภดล พรมเสนา, นฤมล ประจันพาณิชย์, วิชัย อิทธิชัยกุลฑล*, วิไลลักษณ์ วงษ์คำ, สุรีรัตน์ ศรีสวัสดิ์
Department of Anesthesiology, Ramathibodi Hospital, Faculty of Medicine, Mahidol University, Bangkok 10400
บทคัดย่อ
บทนำ: อุบัติการณ์การไอหลังผ่าตัดในผู้ป่วยให้ยาระงับความรู้สึกพบได้ร้อยละ 38-96 และมีผลทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น อาการเจ็บคอ ความดันในกะโหลกศีรษะสูง เพื่อลดอุบัติการณ์การไอนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะเปรียบเทียบ Deep Anesthesia Extubation Technique กับการฉีด Lidocaine เข้าทางหลอดเลือดดำในด้านการไอหลังสิ้นสุดการให้ยาระงับความรู้สึกวิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในผู้ป่วย 80 ราย Physical Status 1-2 ที่มารับการผ่าตัดและให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป ผู้ป่วยใส่ท่อหายใจ ให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปด้วยยาดมสลบ ยาหย่อนกล้ามเนื้อ และอนุพันธ์ฝิ่น โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม ผู้ป่วยกลุ่มที่ 1 (40 ราย) จะได้รับ 1.5% Lidocaine 5 นาที ก่อนถอดท่อหายใจและ Deep Anesthesia Extubation Technique ในกลุ่มที่ 2 (40 ราย) สังเกตการณ์ไอ หายใจอุดกั้น อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันเลือด ค่าอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด เมื่อสิ้นสุดการให้ยาระงับความรู้สึกผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ไม่พบความแตกต่างในเพศ อายุ ASA physical status และระยะเวลาของการผ่าตัด ผู้ป่วยกลุ่มที่ 1 พบอุบัติการณ์การไอได้ร้อยละ 35 ซึ่งไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับผู้ป่วยในกลุ่มที่ 2 (ร้อยละ 37.5) (p = 0.82) ไม่พบผู้ป่วยมีภาวะหายใจอุดกั้น ออกซิเจนในเลือดดำ และไม่มีความแตกต่างในอัตราการเต้นของหัวใจ และความดันเลือดในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม สรุป: Deep Anesthesia Extubation Technique สามารถลดอุบัติการณ์การไอ ได้ไม่แตกต่างจากการฉีด Lidocaine เข้าทางหลอดเลือดดำ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการลดอาการไอในผู้ป่วยหลังสิ้นสุดการให้ยาระงับความรู้สึก
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2550, April-June ปีที่: 33 ฉบับที่ 2 หน้า 79-84
คำสำคัญ
Coughing, Deep anesthesia, Emergence