การฉีดยาชาเฉพาะที่ 0.5% Bupivacaine เพื่อการระงับปวดหลังผ่าตัดไส้เลื่อนสามารถเพิ่มประสิทธิผลได้โดยการผสมยาชาเฉพาะที่ร่วมกับ Fentanyl หรือ Ketamine หรือไม่
วิลาวัลย์ อึงพินิจพงศ์
Division of Anesthesiology, Surin Hospital, Surin, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลในการระงับปวดหลังการผ่าตัดไส้เลื่อนในผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาชาเฉพาะที่ด้วย 0.5 % bupivacaine, 0.5 % bupivacaine + fentanyl, หรือ  0.5 % bupivacaine + ketamineวิธีศึกษา: ศึกษาแบบ randomized, double-blind, controlled trial ในผู้ป่วยจำนวน 57 ราย ASA 1-2 ที่ได้รับการให้ยาระงับความรู้สึกแบบ  spinal anesthesia ก่อนเย็บปิดแผลผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับการฉีดยาชาเฉพาะที่ 20 ml โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่ม B ได้รับการฉีดยาชาเฉพาะที่ด้วย 0.5 % bupivacaine 20 มล., 2) กลุ่ม F ได้รับการฉีดยาชาเฉพาะที่ด้วย 0.5% bupivacaine + fentanyl 0.5 µg/kg 20 มล., และ 3) กลุ่ม K ได้รับการฉีดยาชาเฉพาะที่ด้วย 0.5% bupivacaine + ketamine 0.5% mg/kg 20 มล. ผู้ป่วยจะได้รับการประเมิน pain scores ภายหลังการผ่าตัดที่ห้องพักฟื้นและประเมินอีกใน 6, 12 และ 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัดที่หอผู้ป่วย รวมถึงบันทึกระยะเวลา และจำนวนความต้องการยาระงับปวดที่หอผู้ป่วย ผลการศึกษา: การฉีดยาชาเฉพาะที่ 0.5% bupivacaine ร่วมกับ fentanyl หรือ ketamine เพิ่มระยะเวลาการชาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับการฉีดยาชาเฉพาะที่ 0.5 % bupivacaine เพียงอย่างเดียว (กลุ่ม B และ กลุ่ม F; P < 0.001, กลุ่ม B และกลุ่ม K; P = 0.01) แต่จำนวนความต้องการยาระงับปวดที่ใช้หลังผ่าตัดระหว่างสองกลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ระยะเวลาปวดและระดับคะแนนความปวด pain scores ที่ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ทั้งสามกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติสรุป: การฉีดยาชาเฉพาะที่ 0.5% bupivacaine ร่วมกับ fentanyl หรือ ketamine ไม่เพิ่มประสิทธิผลในการระงับปวดหลังการผ่าตัดไส้เลื่อน
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2550, July-September ปีที่: 33 ฉบับที่ 3 หน้า 145-152
คำสำคัญ
postoperative analgesia, Herniorrhaphy, Local infiltration, Visual Analog Scale (VAS)