เปรียบเทียบการตัดต่อด้วยมือ และการใช้เครื่องมือตัดต่ออัตโนมัติในการเย็บหลอดอาหารหลังการผ่าตัดมะเร็งหลอดอาหาร
ประกอบ ลือชาเกียรติศักดิ์*, ศุภพงศ์ เกษตรสุนทร
Department of Surgery, Suratthani Hospital, Srivichai Rd, Suratthani 84000, Thailand. Phone: 0-7727-2231, Fax: 0-7728-3257, E-mail:[email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบผลการผ่าตัดมะเร็งหลอดอาหารที่เย็บหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร โดยใช้มือและเครื่องมือตัดต่อ อัตโนมัติเปรียบเทียบในเรื่องอัตราการรั่ว, การตีบของหลอดอาหาร, เวลาการผ่าตัด, การเสียเลือดและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆวัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาเปรียบเทียบแบบสุ่มมีตัวควบคุมในผู้ป่วยจำนวน 117 ราย ที่เป็นมะเร็งหลอดอาหารในช่องอก และได้รับการผ่าตัดและตัดต่อมะเร็งหลอดอาหารในช่องอกผู้ป่วยถูกจำแนกโดยใช้ขนาดของหลอดอาหารที่ขนาด 30 มิลลิเมตร หลังจากนั้นสุ่มเลือกต่อโดยใช้มือต่อและใช้เครื่องมือตัดต่ออัตโนมัติผลการศึกษา: ระยะเวลาเฉลี่ยในการผ่าตัดและการสูญเสียเลือดในการผ่าตัด ระหว่างการใช้มือต่อมากกว่า การใช้เครื่องมือตัดต่ออัตโนมัติมีนัยสำคัญทางสถิติ อัตราการรั่ว, ภาวะแทรกซ้อนทางการหายใจ, ภาวะแทรกซ้อนด้านหัวใจและอัตราการตายไม่มีความแตกต่างกันของกลุ่มที่ตัดต่อด้วยมือและกลุ่มที่ตัดต่อด้วยเครื่องมือตัดต่ออัตโนมัติ การตีบของหลอดอาหารโดยรวมพบว่าไม่แตกต่างกัน แต่ถ้าในกลุ่มที่หลอดอาหารมีขนาดเล็ก อัตราการาตีบของหลอดอาหารจะพบมากกว่าในกลุ่มที่ใช้เครื่องมือตัดต่ออัตโนมัติเมื่อเทียบกับการต่อด้วยมือต่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป: จากการศึกษาพบว่าการผ่าตัดมะเร็งหลอดอาหารโดยใช้วิธีการผ่าตัดโดยใช้การตัดต่อด้วยมือ และใช้เครื่องมือตัดต่ออัตโนมัติมีความปลอดภัย ทั้ง 2 แบบ แต่การตัดต่อโดยใช้เครื่องมือตัดต่ออัตโนมัติมีแนวโน้มว่าจะมีอัตราการตีบของหลอดอาหารสูงกว่า โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีหลอดอาหารขนาดเล็ก ขณะที่ระยะเวลาในการผ่าตัดและอัตราการสูญเสียเลือดจะน้อยกว่า
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2551, May ปีที่: 91 ฉบับที่ 5 หน้า 681-685
คำสำคัญ
Esophagogastric anastomosis, Hand-sewn technique, Staple technique