การศึกษาแผนการให้ยาระงับปวดที่มีประสิทธิภาพ
ทวีศักดิ์ ตรัยเวช, พลวิช นัยสวัสดิ์, สมชาย เดชมิ่งมงคล*
กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเลิดสิน
บทคัดย่อ
                การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบ Prospective ที่ศึกษาประสิทธิภาพการลดอาการปวดของผู้ป่วยที่ได้รับการทำ Explore abdomen จำนวน 92 ราย และพักที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมโรงพยาบาลเลิดสิน โดยผู้ป่วยแต่ละรายจะถูกกำหนดวิธีการให้ยาระงับปวดโดยวิธีสุ่มในการรับยาแก้ปวด ซึ่งมี 3 รูปแบบ รูปแบบที่ 1 ผู้ป่วยจะได้รับยาระงับปวด Morphine 3-5 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง  สำหรับรูปแบบที่ 2 ผู้ป่วยจะได้รับมอร์ฟีนทันทีหลังผ่าตัด 3-5 มิลลิกรัม ตามด้วยมอร์ฟีน 1 มิลลิกรัม/ชั่วโมง นาน 1 วัน แล้วลดขนาดลงในวันถัดมา: ส่วนในรูปแบบที่ 3 ผู้ป่วยได้รับ Parecoxib ก่อนผ่าตัด ½ ชั่วโมง และได้รับหลังผ่าตัดต่ออีก 3 วัน วันละ 2 ครั้ง (ทุก 12 ชั่วโมง)                ในการวิจัยครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจะเป็นแบบฟอร์มที่ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ส่วนของข้อมูลส่วนบุคคล, 2) ส่วนที่บันทึกอาการปวด 3) ส่วนที่เป็นข้อมูลวันที่เริ่มได้ยินเสียง bowel sound ระยะวันนอน และวันที่เริ่มทานอาหารได้ นอกจากนี้ การวัดระดับความเจ็บปวดจะได้ค่าคะแนนความปวด โดยประเมินที่ 4, 8, 12, 16, 20 และ 24 ชั่วโมง หลังการได้รับยาระงับปวด แล้วจึงนำค่าคะแนนความปวดนี้มาวิเคราะห์ค่าความชันของการลดอาการปวด                จากผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่อายุเฉลี่ย 46.78 ปี และส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (73.9%) โดยผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 จะมีอายุเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มอื่น และเป็นโรคมะเร็ง 57% จึงอาจมีผลต่อระยะวันนอนของผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 ซึ่งพบว่านานกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญในด้านการลดอาการปวดนั้น กลุ่มที่ 3 ที่ใช้ Parecoxib จะมีการลดอาการปวดที่มีแนวโน้มดีกว่ากลุ่มอื่นๆ แต่ก็ไม่พบความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการให้ยาในรูปแบบที่ 2 และในบรรดาการให้ยาทั้งหมด 3 รูปแบบ การให้ยาในรูปแบบแรกดูเหมือนจะมีผลน้อยกว่าอีก 2 รูปแบบที่เหลือ แต่ข้อดีของการให้ยาในรูปแบบที่ 3 ที่เหนือกว่ารูปแบบที่ 2 ก็คือ อาการปวดลดลง ชัดเจนกว่ารูปแบบที่ 2                 ในส่วนของวันที่เริ่มรับประทานอาหาร และวันที่เริ่มได้ยิน bowel sound นั้น มีผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ถึงแม้ว่าจะพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาแก้ปวดในรูปแบบที่ 3 ดูเหมือนจะเริ่มได้ยิน bowel sound เร็วกว่ากลุ่มอื่นก็ตาม ดังนั้น regimen ที่ 2 และ 3 จึงน่าจะมีประสิทธิภาพในการลดความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับการทำ Explore abdomen เงื่อนไขการใช้ regimen ที่ 2 หรือ 3 ก็ขึ้นกับสภาวะของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ ที่อาจเกิดการใช้ยามอร์ฟีนและเศรษฐานะของผู้ป่วย
ที่มา
วารสารองค์การเภสัชกรรม ปี 2550, October-March ปีที่: 34 ฉบับที่ 1 หน้า 3-12