ผลการฉีดยาที่หนังศีรษะต่อความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดเปิดกะโหลกด้วย 0.5% บิวพิวาเคนที่มีอะดรีนาลิน 1:400,000
อานันท์ชนก ศฤงคารินกุล*, เศรษฐพงษ์ บุญศรี
Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University Chiang Mai 50200, Thailand. Phone: 053-945-522, Fax: 053-945-526, E-mail: asaringc@yahoo.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการฉีดยาที่หนังศีรษะต่อความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดเปิดกะโหลกด้วย 0.5% บิวพิวาเคน ที่มีอะดรีนาลีน 1:400,000วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาไปข้างหน้าแบบ randomized double blind control โดยเก็บข้อมูลในผู้ป่วย 50 คน อายุระหว่าง 18-65 ปี ASA physical status I to III นัดมาผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ ที่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 ผู้ป่วยได้รับการฉีดยาชาที่แผลผ่าตัดก่อนการเย็บปิดด้วย 0.5% บิวพิวาเคนที่มีอะดรีนาลีน 1:400,000 (กลุ่ม B) หรือน้ำเกลือที่มีอะดรีนาลีน 1:400,000 (กลุ่ม S)ผลการศึกษา: ค่ากลางความเจ็บปวดในช่วง 12 ชั่วโมงแรกมีแนวโน้มที่ ค่าในกลุ่มบิวพิวาเคนจะต่ำกว่าค่าในกลุ่มควบคุม แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติยกเว้นค่าความเจ็บปวดในชั่วโมงแรก (ค่ากลางความเจ็บปวดเท่ากับ 2, IQR = 3; p = 0.031) จำนวนผู้ป่วยที่ไม่มีความเจ็บปวด ในกลุ่มบิวพิวาเคนมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มควบคุม ทุกช่วงเวลาใน 12 ชั่วโมงแรก อย่างไรก็ตามพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในชั่วโมงแรกเท่านั้น (7 vs. 1; p = 0.034) ถึงแม้ค่ากลางของช่วงเวลาระหว่างสิ้นสุดการผ่าตัดและการให้ยา tramadol ครั้งแรกจะยาวนานกว่า ในกลุ่มบิวพิวาเคนเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป: การฉีดแผลผ่าตัดก่อนการเย็บปิดด้วย 0.5% บิวพิวาเคนที่มีอะดรีนาลีน 1:400,000 ช่วยลดอุบัติการณ์ และความรุนแรงของความเจ็บปวดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะที่บริเวณ supratentorial แต่อยู่ในช่วง 1 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัดเท่านั้น
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2551, October ปีที่: 91 ฉบับที่ 10 หน้า 1518-1523
คำสำคัญ
pain, Tramadol, 0.5% bupivacaine with adrenaline, Craniotomy, Scalp infiltration